การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการบริหาร KCNPB Model เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรสู่ห้องเรียนของครูและนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสภาพอันพึงประสงค์ ของครู และนักเรียน 2) เพื่อศึกษาผลของการนำนวัตกรรมกระบวนการบริหาร KCNPB Model เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรสู่ห้องเรียนของครูและนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ประชากร คือ ครู จำนวน 57 คน นักเรียน จำนวน 323 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบวัดสมรรถนะนวัตกร และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านสภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับ น้อย ด้านปัญหาอยู่ในระดับ มาก และด้านสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับ มาก และนำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบ KCNPB Model ในการเสริมสร้างนวัตกร 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และบริบทของสถานศึกษา (Knowledge : K) ประกอบด้วย 4 ประเด็น องค์ประกอบที่ 2 ความร่วมมือสร้างเครือข่าย (Collaboration : C) ประกอบด้วย 3 ประเด็น องค์ประกอบที่ 3 การกำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดของนวัตกร (Norm of innovator : N) ประกอบด้วย 2 ประเด็น องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินการและการฝึกปฏิบัติ (Practice : P) ประกอบด้วย 3 ประเด็น และองค์ประกอบที่ 5 นวัตกรที่เป็นเลิศ (Best innovator : B) ประกอบด้วย 3 ประเด็น 2) นวัตกรรมกระบวนการ KCNPB model ที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมิน ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.8-1.0 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมความเป็นนวัตกรของครูและนักเรียน ที่ได้รับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2554). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
กรุณ วงษ์เทียนหลาย. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขนิษฐา ม่วงศรีจันทร์. (2564). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐกานต์ เสถียรกาล. (2564). การพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาตามกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการการทำงาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธนิต บุญใส. (2562). การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานสำหรับวิศวกรรมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรีดา ยังสุขสถาพร. (2561). นวัตกร 4 แบบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
วสันต์ สุทธาวาศ. (2560). นวัตกรรมและการจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). การบริหารสถานศึกษาเพื่อการสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bezdrob, M., & Sunje, A. (2014). Management innovation – designing and testing a theoretical model. South East European Journal of Economics and Business – Special Issue ICSE Conference.
Gordon, T. F. (2018). Innovation Is the Key to Entrepreneurship. (online). Retrieved form https://www.inc.com/gordolnnovation Is the Key to Entrepreneurship.
Hamel G. (2006). The Why, What, and How of Management Innovation. : Harvard Business School Press.
Hero, L., Lindfors, E. & Taatil, V. (2017). Individual Innovation Competence: A Systematic Review and Future Research Agenda. Retrieved from https://files. Eric.ed.gov/fulltext/EJ1161794.pdf.
Roger, E, M. (1983). Diffusion of innovation. New York, NY : The free press.