การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) ที่มีต่อทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังรับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) กับเกณฑ์ร้อยละ 80 (2) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) และ(3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลตรัง จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 34 คน ได้จากการสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) มีทักษะการคิดแก้ปัญหา หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) มีทักษะการคิดแก้ปัญหา หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ(3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบลูม (Bloom) อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรองกาญจน์ มูลไธสง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Food and Drink โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร.
คนึงนิจ รุ่งโรจน์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษโดยเทคนิคการใช้คำถาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จรินทร์ อุ่นไกร. (2562). การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2). 18-27.
จันทรา ศรีมุกดา. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาคณิตศาตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชัยยุทธ ธนทรัพย์วีรชา. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยสอดแทรกการใช้คำถามตามแนวคิดของโสเครตีส เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.
ณัฐกา นาเลื่อน. (2556). ผลการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สงขลา.
ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์.
ทิศนา เขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพมาศ น่วมปฐม. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD รายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.
บุญชม สรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาส์น.
ปรียา เปจะยัง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพนม, ปีที่ 10 (2).
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ หจก. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พระถิรวัฒน์ วฑฺฒนเมธี. (2556). การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูม (Bloom) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา และความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชาวมาเลเซีย เชื่อสายไทยในประเทศมาเลเซีย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วัฒนา ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ศิริวรรณ เอี่ยมประเสริฐ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ในวิชาชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตตรี พรหมบึงลำ และวาสนา กีรติจำเชิญ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. นครราชสีมา.
สุภานันท์ ปั้นงาม. (2561). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่มีผลต่อพฤติกรรมความร่วมมือความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สิริพร ทิพย์คง. (2556). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สิริลักษณ์ พงศ์พฤฒิชัย. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องความรู้พื้นบานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเจี้ยนหัว. Veridian E-Journal, ปีที่ 6 (2).
อุไรภรณ์ วงษ์เบาะ. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD เรื่องบทประยุกธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิต.
Johnson, D.W., and R.T. Johnson and E.J. Holubec. (1984). Circles of Learning:
Cooperative in the Classroom. Edina: Edwards Brothers.