การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ รหัส 17-4000-1402 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ รหัส 17-4000-1402 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพชุดการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในแต่ละเรื่อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนทีมีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และนำมาทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าที (t-test Dependent ชนิด Paired Samples Test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ชุดการสอนมีประสิทธิภาพโดยรวม 76.09/75.92 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 3) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนวิชาสถิติเพื่องานอาชีพ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
2. ธันย์วรัชญ์ วงษ์ตั้นหิ้น. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องปริพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
3. บุญรัตน์ อินทรสมพันธ์. (2542). ความพึงพอใจของนักเรียนต่อพฤติกรรมการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี สังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือควบคู่กับเกม เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
5. พจนีย์ กาญจนเสนา. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องสมการและการแก้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี.
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ. ค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2560, จาก http://bsq2.vec.go.th/document/ ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ.pdf
7. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. สุเทพ ชิตยวงษ์. หลักสูตรปริญญาตรีอาชีวะเป็นหลักสูตรทวิภาคี มติชนออนไลน์. ค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2560, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_617980
9. สุนันท์ ศลโกสุม. (2525). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
10. McDonald, Ellen Jean Baird. (1971). The Development and Evaluation of a Set of Muti-Media Self-International Learning activity Package for Use in Remedial English at Urban Community College. Dissertation Abstracts International. 32(4): 1590-A – 1591-A, 1971.
11. Sbaratta, P. (1975). A flexible modular system: An experiment in teaching freshman Composition. Dissertation Abstracts International. 36: 1280-A.
12. Vivas, David A. (1985). “The Design and Evaluation of a Course in thinking Operation for First Grades in Venesuala (Cognitive, Elementary, Learning)”. Dissertation Abstracts International. 46(3) : 603 - A ; September, 1985.
13. Wilson, Brian. (1989). System : Concepts Methodologies and APP : Application. (2nd ed.). New York : John Wiley & Son.