การพัฒนาระบบการเข้าถึงข้อมูลประวัติเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยคิวอาร์โค้ด สำหรับครูสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี

Main Article Content

ภัทร ทองสามสี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเข้าถึงข้อมูลประวัติเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยคิวอาร์โค้ด  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบระบบการจัดเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลใหม่โดยใช้คิวอาร์โค้ด  การดำเนินงานเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด  จัดทำฐานข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจัดเก็บบนคลาวด์  จากนั้นได้ทำการสร้างคิวอาร์โค้ดเพื่อการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องและทำการทดสอบความถูกต้องของข้อมูล  และได้จัดสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยได้ผ่านการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์จากผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน  3  ท่าน  ก่อนนำแบบสอบถามไปประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานซึ่งเป็นครูในแผนก  วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์จำนวน  15 ท่าน  ผลการวิจัยพบว่า  1)  ความถูกต้องของระบบเป็น  100 %  2)  ความพึงพอใจของผู้ใช้งานในด้านความสะดวกในการใช้งาน  และด้านความตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งานอยู่ในระดับดีมาก  มีค่าเฉลี่ย  4.67  และ  4.53  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.47  และ  0.50 ตามลำดับ ด้านความเหมาะสมของภาพประกอบ  และประโยชน์ของการใช้งานอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ย  4.40  และ  4.33  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.61  และ  0.70  ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ทองสามสี ภ. (2019). การพัฒนาระบบการเข้าถึงข้อมูลประวัติเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยคิวอาร์โค้ด สำหรับครูสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 3(2), 40–47. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/246567
บท
บทความวิจัย

References

1. พินทุสร ปัสนจะโน, ตะวัน ขุนอาสา, ธนา จันทร์อบ และราเมศวร์ พร้อมชินสมบัติ. (2560, มกราคม-ธันวาคม). การใช้รหัสคิวอาร์โค้ดบนระบบปฏิบัติการบนมือถือเพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์. ศรีปทุมปริทัศน์ 9, (ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), หน้า 88-96.

2. ภควัติ วรเชษฐบัญชา, กฤติกา สังขวดี และปัญญา สังขวดี. (2560). การพัฒนาบทเรียนกีฬาเทเบิลเทนนิสผ่านคิวอาร์โค้ด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฎเพชรบุรีวิจัยศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 4 (3 ธันวาคม). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

3. มงคล รอดจันทร์, อวยไชย อินทรสมบัติ และธานิล ม่วงพูล. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค้ดสำหรับการบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร. วิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5, (1), หน้า 88-96.

4. ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). คิวอาร์โค้ดนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล. วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2, (2), หน้า 85-96.

5. LuckOonk. (2013). QR CODES, QUICK RESPBSE OR QUICK REJETION?. Thesis Master Communication Department of Behavioural Sciences, University of Twente, Enschede, The Netherlands.