กรอบแนวคิดในการวางแผนกลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
การวางแผนกลยุทธ์, สถาบันอุดมศึกษา, ผู้เรียนกลุ่มใหม่, นวัตกรเทคนิค, talent managementบทคัดย่อ
การวางแผนกลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษา ต้องทันสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องและรวดเร็ว และในปัจจุบันคือวิกฤติโควิด การทำงานตามพันธกิจมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมาย ต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงประชากร technology disruption การเปลี่ยนของอุตสาหกรรม ความต้องการของตลาด พฤติกรรมการใช้ชีวิต การเปลี่ยนรุ่น (generation) ของผู้เรียน ความหลากหลายของผู้เข้ารับการศึกษา และสิ่งที่สำคัญในสังคมไทยคือความเหลื่อมล้ำ จากองค์กรมองสถานการณ์รอบด้านแล้ว ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรคือคน ต้องพัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง การทำงานระดับคณะทั้งการจัดการศึกษาและพันธกิจอื่น เพื่อไปสู่เป้าหมายใหม่ ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขกำกับ อาทิ (i) การเปลี่ยนโครงสร้างประชากร ผู้เรียนกลุ่มใหม่จะเป็นคนทำงาน คนสูงอายุ คนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในวัยเด็ก (ii) การประหยัดและการแสวงหาแหล่งทรัพยากรใหม่ที่เป็นหน้าที่ของทุกคน ในสภาพที่งบประมาณรัฐมีจำกัด มีกองทุนใหม่เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยและคณะควรสร้างเงื่อนไขใหม่เพื่อความสำเร็จ แก้จุดอ่อน รื้อปรับความคิด และทำงานแนวใหม่ ได้แก่ (i) การเปลี่ยนแปลงตัวป้อน กระบวนการเรียนการสอน สำหรับผู้เรียนกลุ่มใหม่ และเป้าหมายใหม่คือการสร้างนวัตกรเทคนิค (ii) การบริหารคนและคณะในระบบใหม่ โดยสร้างคณะใหม่บนฐานห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเฉพาะเรื่อง และการบริหารนักวิชาการและนักเทคนิคสมรรถนะสูงโดยยึดหลัก talent management
References
King Mongkut’s University of Technology Thonburi (2021, May). Retrieved from https://stg.kmutt.ac.th/document/publication/33/20191227-103842.pdf
Mahidol University (2021, May). Retrieved from https://www.tm.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/KM/Strategy_Plan_NPD.pdf
ยุทธศาสตร์ชาติสร้าง “คน” ติดอาวุธการศึกษาสู้โลกเปลี่ยน (2021, April 25). Retrieved from https://www.prachachat.net/education/news-148493
Lazysenior (2020, July 7). นวัตกรรมช่วยพยุงตัว เพิ่มความปลอดภัย Retrieved from https://buddysenior.com/exoskeleton/
Steven O. (2012, October). Possible Approaches to Commercialisable University Research in Kenya. Retrieved from https://www.researchgate.net/profile/Steven-Ondimu/publication/328095915/figure/fig3/AS:764511019622400@1559285039025/Model-of-Government-Industry-University-relationship_Q320.jpg
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT