หน้าหลัก ThaiJo
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี เป็นวารสารระดับชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และบทความด้านบริการวิชาการสู่สังคม โดยมุ่งพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิดหรือองค์ความรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และ นักวิชาการ ในด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการเรียนรู้ โดยรับบทความจากผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ กองบรรณาธิการวารสารฯ ตระหนักถึงจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ของผู้เขียนบทความ (Author) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) และบรรณาธิการ (Editor) และเพื่อให้การตีพิมพ์ถูกต้องตามหลักจริยธรรมจึงกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ของวารสาร ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ดังนั้นจึงกำหนดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ (Duties of Editors)
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยไม่มีอคติในทุกด้าน โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ทุกครั้ง บรรณาธิการและกองบรรณาธิการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ มีหน้าที่เป็นผู้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ในการประเมินบทความเรื่องนั้น ๆ โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องได้ทราบโดยเด็ดขาด รวมทั้งบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
- 3บรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ภายหลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้วเท่านั้น โดยจะพิจารณาจากเหตุผลหลักคือ ลำดับก่อนหน้าของการส่งบทความ (Queue) และความน่าสนใจ/ความหลากหลายของเนื้อหาบทความ (Content) รวมถึงเหตุผลในด้านความเหมาะสมอื่น ๆ (Suitability) เป็นสำคัญ ในกรณีที่มีเหตุผลสำคัญ ที่อาจจะไม่นำบทความของผู้เขียนบทความเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ลงตีพิมพ์ในวารสารในฉบับที่ตามที่ระบุในหนังสือตอบรับให้ได้นั้น บรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความดังกล่าว ลงตีพิมพ์ในวารสารในฉบับต่อ ๆ ไป ตามที่เห็นสมควร โดยบรรณาธิการจะต้องแจ้งให้ผู้เขียนบทความเรื่องนั้น ๆ ได้รับทราบล่วงหน้าก่อนเสมอ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Duties of Authors)
- ผู้เขียนบทความต้องส่งบทความที่ไม่มีการคัดลอกผลงานทั้งส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดจากเนื้อหาบทความของผู้อื่น รวมถึงบทความที่ส่งจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น และไม่ซ้ำซ้อน หรือคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น ทั้งนี้การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงแต่เพียงผู้เดียว
- ในกรณีที่บทความของผู้เขียนบทความได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ ผู้เขียนบทความยินดี ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของรูปแบบและเนื้อหาบทความจนกว่าจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารฯ จะจัดส่งให้ผู้เขียนบทความได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงรอบตามข้อกำหนดของวารสารฯ ก่อนขั้นตอนของการเผยแพร่ต่อไป
- ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
- หากผลงานทางวิชาการของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ทดลอง ประกอบด้วยทุกครั้ง
- ผู้เขียนต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารฯ ก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารฯ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญมีหน้าที่พิจารณาความถูกต้องและความน่าสนใจของเนื้อหาบทความ ด้วยใจเป็นกลางและปราศจากอคติ ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้อ่านบทความจะได้รับ พร้อมเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปรับปรุงบทความที่สร้างสรรค์และชัดเจนในเชิงประจักษ์ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ความชอบ หรือไม่ชอบ ในการตัดสินบทความ
- ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในแง่ของคุณภาพทางวิชาการ หากผู้ประเมินบทความได้รับการทาบทามจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ผู้ประเมินบทความควรรีบตอบรับหรือปฏิเสธการทาบทามด้วยความรวดเร็ว และไม่ควรเพิกเฉย ด้วยการไม่แจ้งตอบกลับใด ๆ (ตอบรับหรือปฏิเสธ) ให้กองบรรณาธิการวารสารฯ ได้ทราบ รวมทั้งผู้ประเมินควรประเมินบทความภายในระยะเวลาที่วารสารกำหนด เมื่อผู้ประเมินบทความไม่สามารถส่งข้อเสนอแนะบทความได้ทันตามเวลาตามที่กำหนดไว้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารฯ ได้ทราบ พร้อมทั้งควรแจ้งกำหนดเวลาใหม่ในการส่งคืนข้อเสนอแนะบทความต่อไป
- ภายหลังจากการประเมินบทความและให้ข้อเสนอแนะในครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้เขียนบทความได้แก้ไขปรับปรุงบทความ (พร้อมเหตุผลและคำชี้แจง) กลับมาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง กองบรรณาธิการวารสารฯ จะขอความอนุเคราะห์ในการประเมินบทความครั้งต่อไป ซึ่งผู้ประเมินบทความจะเป็นผู้พิจารณาการแก้ไขปรับปรุงบทความดังกล่าว เมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งผลการพิจารณาให้กองบรรณาธิการได้รับทราบต่อไป
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของผลงานที่ทำการประเมินแก่บุคคลอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้อง (Confidentiality) ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ รวมทั้งไม่ควรสอบถามกองบรรณาธิการหรือพยายามเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความเรื่องที่ตนได้ตอบรับการพิจารณาคุณภาพ
- หากผู้ประเมินบทความได้รับบทความซึ่งตนเองอาจมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประเมินควรแจ้งแก่บรรณาธิการโดยทันทีและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น