การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตและจัดการสินค้าในโรงงานสัตว์ปีก

ผู้แต่ง

  • ลักษณาทิพย์ ยิ่งยวด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธเนศ จิตต์สุภาพรรณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วิศิษฏ์ศรี วิยะรัตน์ สำนักงานคณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธิดาพร แซ่กวน ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อนุชา วัฒนาภา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การวางแผนการผลิต, การพยากรณ์, สัตว์ปีก, การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณความต้องการอาหารสัตว์ปีกจำแนกตามช่วงวัยที่เหมาะสมของสัญญาฟาร์มประกัน (Contract farming) และลูกค้าทั่วไป และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการผลิตซึ่งจะช่วงลดการผลิตที่เกินจำเป็น ลดการใช้ทรัพยากรการผลิตที่เกินความต้องการและที่สำคัญลดการจัดเก็บที่มากเกินไป อีกทั้งเป็นข้อมูลนำเข้า (Input data) สำหรับการจำลองการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดสินค้าของบริษัทจากการบรรจุถุง (Bag) เป็นแบบถังพักอาหารสำหรับการรอบรรจุ (Bulk) ด้วยตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) โดยที่ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลของฟาร์มสัญญาประกัน จำนวน 31 เล้า รวมทั้งสิ้น 1264 ระเบียน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณความต้องการอาหาร (y) (หน่วย: กิโลกรัม) ขึ้นกับจำนวน (x1) (หน่วย: ตัว) และอายุ (x2) (หน่วย: วัน) ของสัตว์ปีกในแต่ละเล้าของแต่ละฟาร์ม ตลอดช่วงเวลาของอายุของสัตว์ปีก 0 – 40 วัน และเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดของแต่ละฟาร์ม ดังนั้น สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณที่ใช้ในการพยากรณ์ มีดังนี้ อาหารสูตร 1 ได้แก่ yijkl = 0.05x1ijkl + 54.77x2ijkl – 393.29 สำหรับสัตว์ปีกอายุ 0 – 15 วัน (0<i<=15) อาหารสูตร 2 ได้แก่ yijkl = 0.11x1ijkl + 57.25x2ijkl – 1045.62 สำหรับสัตว์ปีกอายุ 16 – 30 วัน (15<i<=30) และ อาหารสูตร 3 ได้แก่ yijkl = 0.19x1ijkl – 65.64x2ijkl + 2132.13 สำหรับสัตว์ปีกอายุ 31 – 40 วัน (30<i<=40) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (Coefficient of Determination: R2) เท่ากับ 0.732, 0.733 และ 0.351 ตามลำดับ โดยที่ i แทนอายุของสัตว์ปีก 1, 2, …, 40, j แทนฟาร์มประกันที่ 1, 2, …, X, k แทนเล้าที่ 1, 2, …, nj และ l แทนวันที่ผลิตอาหาร 1, 2, …, 365 นอกจากนี้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากการวางแผนการผลิตลดลงแผนการผลิตที่บริษัทใช้ในปัจจุบัน โดยเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เราได้ปริมาณอาหารที่จะผลิตที่ได้จากการพยากรณ์ เราจะนำไปใส่ในโปรแกรมการจำลองสถานการณ์อารีน่า ซึ่งมีการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้วและมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 1.285% เพื่อหาจำนวนถังพักอาหารที่เหมาะสมต่อปริมาณการผลิต ได้ผลการศึกษาว่าพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าสำรองในคลังสินค้าจะลดลงเหลือ 127.4 ตารางเมตรจาก 2821 ตารางเมตรแตกต่างจากปัจจุบัน 95% ใช้พนักงานทั้งหมดลดลงเหลือ 10 คนจาก 19 คนแตกต่างจากปัจจุบัน 47% ใช้รถยกลดลงเหลือ 2 คันจาก 5 คันแตกต่างจากปัจจุบัน 60%

References

Andreas M. Radke , Tullio Tolio , Mitchell M. Tseng, Marcello Urgo, “A risk management-based of inventory allocations for make-to-order production”CIRP Annals - Manufacturing Technology, V.62 (2013) 459–462.

Sanjoy Kumar Paul, Ruhul Sarker, Daryl Essam, “A disruption recovery plan in a three-stage Production - inventory system” Computers & Operations Research, V. 57(2015) P.60–72.

Nicolás Vanzettia, Gabriela Corsano and Jorge M.Montagna, “A comparison between individual factories and industrial clusters location in the forest supply chain”, Forest Policy and Economics, Vol. 83 (2017) pp.88–98.

Enrique Martin Alcalde, Kap Hwan Kim and Sergi Saurí Marchán, “Optimal space for storage yard considering yard inventory forecasts and terminal performance”, Transportation Research Part E Vol.82 (2015) pp.101–128.

โรงอาหารสัตว์ลพบุรี 4, 2558, ปริมาณอาหารที่ถูกกันออกของสายการผลิตที่ 2 ตั้งแต่ ม.ค.2558 ถึง มิ.ย. 2558, บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน), ลพบุรี.

ดำรงฤทธิ์ พลสุวัตถิ์ และ พิษณุ ทองขาว, 2553, การวางแผนการผลินรวมเพื่อหาปริมาณการผลิตเหมาะที่สุดภายใต้ปริมาณความต้องการสินค้าที่ไม่แน่นอน กรณีศึกษา อุตาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อนุสรณ์ อินหนู, การจัดการสินค้าคงคลังในธุรกิจอาหารสัตว์ กรณีศึกษา บริษัท เบ็นไมเยอร์ เคมีคอลส์ (ที) จำกัด, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

เธียรภัทร เลิศวัฒนวิมล, การพัฒนาระบบบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิติกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-10