การออกแบบและจำลองสถานการณ์เครื่องลำเลียงแบบปรับระยะความยาวตามการใช้งาน

ผู้แต่ง

  • พัตร์พิมล สุวรรณกาญจน์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ทนงศักดิ์ คงสินธุ์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เพ็ญญารัตน์ สายสิริรัตน์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

เครื่องลำเลียงแบบปรับระยะ, การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์, ความปลอดภัยในการทำงาน

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องลำเลียงแบบปรับระยะความยาวตามการใช้งาน และสามารถปรับมุมองศาการขนถ่ายวัสดุให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน การขนถ่ายวัสดุในงานด้านอุตสาหกรรม จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน และช่วยให้มีความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยออกแบบเครื่องลำเลียงแบบปรับระยะความยาวตามการใช้งาน สามารถปรับระยะความยาวได้ 5-15 เมตร และทำมุมกับระดับพื้น 0-30 องศา                        ชุดโครงสร้างใช้วัสดุเหล็กแผ่นรีดร้อนเกรด SS400 สามารถรับความเค้นได้สูงสุดที่ 250 เมกะปาสคาล ความกว้างสายพาน 0.6 เมตร อัตราเร็วขนถ่าย 18-30 เมตรต่อนาที ในการศึกษาใช้โปรแกรม SolidWorks วาดขึ้นรูปชิ้นส่วนและคำนวณวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ANSYS เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของชุดโครงสร้างที่มีผลกระทบกับน้ำหนักที่นำมาขนถ่ายวัสดุ ที่สามารถรับความเค้นได้สูงสุดที่ 250 เมกะปาสคาล โดยการจำลองการลำเลียงที่ระยะความยาว 5, 7.5, 10, 12.5 และ 15 เมตร ซึ่งสามารถปรับองศาได้ 4 ระดับ คือ 0, 10, 20 และ 30 องศา ผลการจำลองพบว่า สามารถรับน้ำหนักวัสดุได้ 50 กิโลกรัมต่อเมตร ที่ระยะความยาว 5-12.5 เมตร ในทุกระดับองศา และที่ความยาว 15 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัมต่อเมตร ได้ทุกระดับองศา ทำให้เครื่องลำเลียงแบบปรับระยะความยาวใช้งานได้เหมาะสมที่สุด

References

กมลชนก ประสาททอง (2556). การออกแบบตะขอยกสำหรับภาระขนาด 2 ตันโดยใช้วิธีการออกแบบที่เหมาะสมร่วมกับวิธีการให้น้ำหนักความสำคัญ,ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชัชวาล พันธ์เครือบุตรและ ชานนท์ ภูเด่นไสย (2537). สายพานลำเลียงแบบปรับความยาวได้ สายพานลำเลียงชนิดปรับความยาวได้, ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธนูศิลป์ ลิ้มทอง (2554). การศึกษาการออกแบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสม, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐกร ไล่เซ่ง(2548). การออกแบบสายพานลำเลียงแบบปรับระยะทางการขนถ่ายได้, ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรวิทย์ ปู่ชิตากรและคณะ (2534). อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุต่างที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม, ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เสรี มะลิขาว และบวร ปัญญาแก้ว (2537). การออกแบบและสร้างสายพานลำเลียงแบบปรับความชันได้, ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บริษัท เอไพร์มพลัส จำกัด (2565). เหล็กเกรด-ss400, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มาhttps://www.aprimeplus.com/post/เหล็กเกรด-ss400-what-is-ss400-mean, เข้าดูเมื่อวันที่ 24/04/2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30