การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ผู้เรียนในยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อพฤติกรรมในการใช้ชีวิตรวมถึงการเรียนรู้ โลกแห่งการเรียนรู้ได้พัฒนาไปอย่างมากจากการที่มีระบบอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบเครือข่ายความรู้ออนไลน์มีการขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และเข้ามามีส่วนสำคัญในด้านข้อมูล เครื่องมือในการเรียนรู้ รวมถึงการสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน พฤติกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียนก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากแต่ละคนเลือกที่จะเรียนรู้หรือหาข้อมูลตามความสนใจของตนเอง ผู้เรียนสามารถศึกษาหรือเรียนรู้ได้ตามที่ต้องการ ทั้งในส่วนของเนื้อหา เวลา และสถานที่ ส่งผลให้การจัดการศึกษาจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนในยุคนี้ โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยยึดหลัก “โลกคือห้องเรียน” ผู้เรียนในยุคดิจิทัล ต้องพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้สอนในยุคดิจิทัลจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้สอนในยุคดิจิทัล ควรมีลักษณะเป็น E-Teacher ต้องพัฒนาทักษะ บทบาทหน้าที่ มาตรฐานการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถชี้แนะ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ร่วมกันและการสื่อสารการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล ผู้สอนต้องศึกษาและทำความเข้าใจในองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ผู้เรียนและผู้สอนในยุคดิจิทัล การรู้ดิจิทัล การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ดิจิทัล และการประเมินผลการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล เพื่อที่จะบริหารจัดการให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

References

นฤมล ปภัสสรานนท์, 2558, “การจัดการเรียนรู้”, เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, (เอกสารอัดสำเนา).

กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, กรุงเทพฯ.

Moore, K. D.,1992, Classroom Teaching Skills, 2nd.ed. New York: McGraw-Hill.

Hough, J. B. & Duncan, 1970, Teaching description and analysis, Addison-Westlu.

The reporter Asia, 2564, คิดว่า ลูกคุณเป็น Digital Native หรือ Digital Naïve, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.fmworld.net/ overseas/ th/th/uh-x/2012/?from=overseas, [18 /10/ 2564].

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ, 2564, “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล”, การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล.

Beetham H. and Sharpe, R., 2013, สมรรถนะทางดิจิทัลและสารสนเทศ, ที่พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด บรุ๊ค ชื่อ สโคนัล เซเว่น พิลลาร์ (SCONUL’s Seven Pillars), หน้า 295.

พรชนิตว์ ลีนาราช, 2560, “ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน”, วารสารห้องสมุด, ปีที่ 61, ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560), หน้า 81.

Agnes Kukulska-Hulme and John Traxler, 2013, “Design principles for mobile learning”, Rethinking Pedagogy for a Digital Age: Designing for 21st, Century Learning, Edition: 2nd, Publisher: Routledge Editors: Helen Beetham, Rhona Sharpe, pp. 244–257.

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์, 2559, “แนวทางการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 16, ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559), หน้า 1-11.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, 2561, การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://adacstou.wixsite.com/adacstou/singlepost/, [12 /10/2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31