การสังเคราะห์ผลการพัฒนาสื่อประสมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ผ่านการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรปภัสสร ปริญชาญกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

สื่อประสม, กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม, เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นการสังเคราะห์งานวิจัยและพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ผ่านการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสื่อประสมและกิจกรรม  โดยมีขอบเขตการวิเคราะห์จากผลประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเยาวชน และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อประสมและกิจกรรมของผู้จัดโครงการเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ผ่านการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งบูรณาการในรายวิชา LTM 652 Principle and Theories of Mass Communication ระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ในระยะเวลา 3 ปีการศึกษา คือตั้งแต่      ปีการศึกษา 2559-2561 ผลการศึกษาพบว่า ผู้จัดทำได้จัดโครงการส่งเสริมความรู้เรื่องกลองยาวและรำไทยแก่เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคมของภาควิชา โดยได้พัฒนาสื่อประสมได้แก่  สื่อโปสเตอร์ สื่อไวนิล สื่อวีดิทัศน์การสอนฟ้อนรำ กลองยาวร่วมกับกิจกรรมการสอนแบบสาธิตเชิงปฏิบัติแก่เยาวชนในชุมชน  ใต้สะพานโซน 1 โดยนักศึกษา   ผู้จัดโครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาสื่อและกิจกรรม นำไปใช้ และประเมินผลตามรูปแบบ ADDIE Model   ในภาคการศึกษาที่ 1/2559-2561 ผ่านการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานซึ่งมี 6 ขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าผลประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อและกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับดี-ดีมาก ผลประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอของสื่อและกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับดี-ดีมาก ผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของเยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อและกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย นอกจากนี้ยังพบว่า นักศึกษาเห็นว่า กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ผ่านการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีประโยชน์ต่อนักศึกษาและต่อกลุ่มตัวอย่างในชุมชน สรุปได้ว่าผลของการพัฒนาสื่อประสมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่เยาวชนในชุมชนใต้สะพานโซน 1 ผ่านการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีคุณภาพดี มีผลประเมินผลสะท้อนกลับจากนักศึกษาในระดับดี จึงเสนอแนะ 3 แนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

References

Hassan, Z., 2014, The Social Labs Revolutions A New Approach to Solving Our Most Complex Challenges, Barrett-Koehler Publishers, pp. 2-3.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2556,รายงานมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม (Social Lab), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www2.kmutt .ac.th/thai/abt_history/info_report/KMUTT-So cial-Report-2556-2557, pdf., [22/08/2564].

เฉลิมศักดิ์ ลีวังษี, 2559, “ประธานชุมชนใต้สะพานโซน 1”, สัมภาษณ์, 1 พฤศจิกายน 2559.

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2564, หลักสูตรการศึกษา, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.fiet.kmutt.ac.th/home/, [02/09/2564].

Plookpedia, 2560, การใช้สื่อประสมส่งเสริมการศึกษา, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/59520/-itcom-it-edu-/, [26/11 2564].

สาระดนตรี, 2564, นาฏศิลป์พื้นเมือง, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://athornmusic.blogspot.com/ 2021/01/blog-post_24.html-/, [26/11/2564].

ธนีนาฎ ณ สุนทร, 2561, “USC - Service Learning Model: สู่การพัฒนานักศึกษาในยุค Thailand 4.0”, วารสารครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ปที่ 46, ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2561), หนา 325-344.

สุวิมล ว่องวาณิช, 2545, เคล็ดลับการทำวิจัยในชั้นเรียน, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://rci2010.files.wordpress.com › 2011/06-/, [26/11/ 2564].

สัญญา เคณาภูมิ, 2562, “หลักการและแนวทางการ สังเคราะห์งานวิชาการ”, วารสารการบริหารการ ปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม), หน้า 89-106.

พรปภัสสร ปริญชาญกล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์, 2561, “ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการชุมชนยุคใหม่สรรค์สร้างสื่อ ส่งเสริมกิจกรรมต่อยอดศิลปวัฒนธรรมไทย @ ชุมชนใต้สะพานโซน 1 ผ่านการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชา LTM 652 โดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”, วารสารเซนต์จอห์น, (21 มกราคม - มิถุนายน 2561), หน้า 163 - 176.

Thamwipat, K. and Princhankol, P., 2018, “The Development of Media and Special Event to Support Knowledge of Arts and Culture Entitled, Dancing with Single-Head Drum Accompaniment for Young People through Social Service Learning and Community-Based Learning”, International Education Studies, Vol. 11, No.12, pp.133-139.

Thamwipat, K., 2019, “The Outcome of the Development of Multimedia and Activities to Enhance Knowledge about Arts and Cultures for Community Youths through Social Lab”, International Education Studies, Vol. 12, No.7, pp.10-19.

Branch, R. M., 2009, “Instructional Design”, The ADDIE Approach, Vol. 722, Springer Science & Business Media, p.1.

วุฒิพงศ์ แผนสท้าน และปวีณา ธรรมบรรหาร, 2555, การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนซาเล้งใต้สะพานโซน 1 เรื่องการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า, โครงงานศึกษาหลักสูตรปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. หน้าบทคัดย่อ.

วุฒิพงษ์ แผนสท้าน และพรปภัสสร ปริญชาญกล, 2558, “การสร้างแหล่งการเรียนรู้สำหรับเด็กชุมชนใต้สะพานโซน 1 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง หุ่นยนต์คุณธรรมจากขยะ”, การประชุมวิชาการระดับชาติโสต-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย, ครั้งที่ 29, วันที่ 22-23 มกราคม 2558, หน้า 108 – 115.

วันจักรี โชติรัตน์, มนตรี เด่นดวง และปรีดา เบ็ญคาร, 2562, “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง การออกแบบท่ารำ– เต้น ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรูปแบบซิปปา ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10,วันที่ 12 กรกฎาคม 2562, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.hu.ac.th/conference /conference2019/proceedings2019/FullText/, [01/11/2564].

บุญมา เวียงคำและคณะ, 2558, การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา :http://www.human.ubru.ac.th/jo urnal/wpcontent/uploads/2018/04/1-Boonma.pdf., [04/09/2564].

ประสาท เนืองเฉลิม, 2558, “การเรียนรู้โดยการบริการสังคม”, วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2558), หน้า 9-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31