การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้านเรขาคณิตโดยออกแบบรูปทรงเรขาคณิตภาพคลี่ที่ขึ้นรูปได้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในระดับประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ทิศตรง ภาควิชาเทคโนโลยีสื่อสารและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ณัฐกรณ์ เศรษฐี ภาควิชาเทคโนโลยีสื่อสารและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • นชพรรณ จั่นทอง ภาควิชาเทคโนโลยีสื่อสารและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น, เรขาคณิต, รูปทรงเรขาคณิตภาพคลี่, สื่อการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้านเรขาคณิตโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตภาพคลี่ที่พับประกอบขึ้นรูปได้ ในการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง พื้นผิว และการคำนวณทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยออกแบบสื่อรูปทรงเรขาคณิต 9 รูปทรง ที่มีอักษรเบรลล์กำกับชื่อของรูปทรงแต่ละชนิด เริ่มจากการเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดในการขึ้นรูปเป็นสื่อการเรียนการสอนรูปทรงเรขาคณิต โดยทำการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน ในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จากการทดลองนำภาพคลี่มาขึ้นรูปเป็นรูปทรงเรขาคณิตด้วยวัสดุ 6 แบบ พบว่า แบบที่เหมาะสมที่สุดคือการใช้แผ่นพลาสวูดทำเป็นโครงสร้างโดยยึดด้วยการฝังแท่นแม่เหล็กขนาดเล็ก แล้วหุ้มด้วยแผ่นสติกเกอร์ชนิดพีวีซี เพราะมีความแข็งแรง ผิวหน้ามีความเรียบสม่ำเสมอ สวยงาม และทนทานต่อการประกอบขึ้นรูปและคลี่ออกได้หลายครั้ง จากนั้นทำการพิมพ์เป็นจุดนูนใสของอักษรเบรลล์เป็นชื่อรูปทรงต่าง ๆ ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึกชนิดยูวี เมื่อนำไปทดลองใช้ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ทั้งด้านความเหมาะสมต่อการใช้งาน ด้านการเรียนการสอน และด้านการใช้อักษรเบรลล์ รวมทั้งนักเรียนที่บกพร่องทางการมองเห็นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน จากการสังเกตพบว่านักเรียนมีความสนใจมากและสนุกสนานกับการคลี่ออกและพับประกอบของรูปทรงเราขาคณิต สื่อการเรียนการสอนที่ออกแบบนี้สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองในการวัดขนาดและการคำนวณทางเรขาคณิต เช่น พื้นที่ผิวหรือปริมาตร ซึ่งสนับสนุนการเรียนการสอนแบบประสาทสัมผัส (Method of Sense Realism) ส่งผลให้ให้นักเรียนเกิดความจำและความเข้าใจดีขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ, 2560, หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th/newsdetail. php?id=75, [1 กันยายน 2564].

Junthong, N., Netpradit, S. and Boonlue, S., 2017, “The Study of Status and Needs for Instructional Media of Blind Students from Upper Elementary School in Thailand”, International Conference on Education, Humanities and Social Sciences Studies (EHSSS-17), Singapore.

คุณครูพัชรี ใจใส, สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2563,

ศึกษาภัณฑ์ออนไลน์, 2564, รูปทรงเรขาคณิตประถม. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.suksapanpanit.com/index.php?route=product/product&path=119_123&product_id=676, [1 ธันวาคม 2564].

ถนอมนวล, 2019, การศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์บนแผ่นพลาสวูด, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สอนคณิตศาสตร์นักเรียนบกพร่องทางการเห็นอย่างไรจึงได้ผล, 2018, เรขาคณิตกับนักเรียนบกพร่องทางการเห็น, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.fcebook.com/pg/, [20 มกราคม 2563].

ประภัสรา โคตะขุน, 2018, รูปแบบการสอนแบบต่าง ๆ, [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/sites/prapasara/15-1. [1 กันยายน 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31