ระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมดสำหรับกระบวนการผลิตน้ำประปา
คำสำคัญ:
ระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมด, ค่าคลอรีนคงเหลือในน้ำประปา, กระบวนการผลิตน้ำประปา, อินฟราเรดเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ, แอปพลิเคชันไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมดสำหรับกระบวนการผลิตน้ำประปาที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้งาน และเลือกใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับสถานะการจ่ายแก๊สคลอรีน 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมดสำหรับกระบวนการผลิตน้ำประปาที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบค่าคลอรีน คงเหลือในน้ำประปาก่อนและหลังการติดตั้งระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนสำหรับกระบวนการผลิตน้ำประปา การดำเนินการวิจัยได้ทำการออกแบบระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมดสำรับกระบวนการผลิตน้ำประปาโดยใช้ ESP8266 มาเป็นตัวประมวลผล ประเมินคุณสมบัติเซ็นเซอร์ที่เหมาะสม และนำมาทดลองใช้โดยเก็บข้อมูลค่าคลอรีนคงเหลือในน้ำประปาก่อนและหลังการใช้งานเป็นระยะเวลา 4 เดือน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ T-test dependent จากนั้นมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ผลการวิจัย พบว่า อินฟราเรดเซ็นเซอร์เหมาะสมในการตรวจจับสถานะการจ่ายแก๊สคลอรีนหมด ระบบฯ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนสถานะคลอรีนหมดไปยังแอปพลิเคชันไลน์ได้อย่างถูกต้อง ค่าเฉลี่ยของค่าคลอรีนคงเหลือในน้ำประปาหลังติดตั้งระบบฯ เท่ากับ 1.2495 ppm (S.D. = 0.16811) ซึ่งมีค่าสูงกว่าและราบเรียบกว่าก่อนติดตั้งระบบฯ ที่มีค่าเท่ากับ 1.1258 ppm (S.D. = 0.23631) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมด พบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจสูงสุด (= 4.60) โดยพึงพอใจด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน การสอดคล้องต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน ระบบช่วยลดภาระงานในการตรวจสอบปริมาณแก๊สคลอรีนให้กับผู้ปฏิบัติงาน และสามารถแก้ปัญหาแก๊สคลอรีนเหลวหมดได้ทันทีตามลำดับ
References
การประปาส่วนภูมิภาค, 2562, มาตรฐานน้ำประปา, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https:// www.pwa.co.th/download/pwastandard 50-1.pdf, [15/01/2562].
ศูนย์ฝึกอบรมภูมิภาค 1 เชียงใหม่, 2562, การฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา. https://km-im.pwa.co.th/knowledge/water-distribution-process/, [15/01/2562].
การประปาส่วนภูมิภาค, 2562, คู่มือกระบวนการผลิตน้ำประปา ภาคทฤษฎี, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://pwa.co.th/ความรู้องค์กร, [01/02/2564].
นวีภาพ พนมสันติ, ณัฐวุฒิ สีดำ, และศราวุฒิ ใจตึง, 2561, วิธีปฏิบัติงานการจ่ายแก๊สคลอรีนม, การประปาส่วนภูมิภาคสาขาปทุมธานี.
ยุธนา ดีเทียม และธงรบ อักษร, 2560, ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
พงษ์ศักดิ์ ชาญกระโทก, เอนก คูณขุนทด, เกรียงกมล มงคลเมือง และอดิศร พลเสนา, 2557, เครื่องวัดความเร็วรอบด้วยอินฟราเรดควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ 16F877, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน.
ศักรินทร์ ตันสุพงษ์, 2557, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นไลน์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT