การปรับปรุงการดำเนินงานภายในคลังสินค้าด้วยโมบายแอปพลิเคชันและแนวคิด ECRS กรณีศึกษา บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
การพัฒนาการปฏิบัติการในคลังสินค้า, โมบายแอปพลิเคชัน, แนวคิด ECRSบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการปรับปรุงการดำเนินงานภายในคลังสินค้าด้วยโมบายแอปพลิเคชันและแนวคิด ECRS (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานภายในคลังสินค้า ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการดำเนินงานภายในคลังสินค้า และหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานภายในคลังสินค้า ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน สาเหตุของปัญหาเกิดขึ้นจากในการจดรหัสสินค้า มีการใช้เวลานาน และมีการความผิดพลาดในการรับสินค้า จึงได้ทำการแก้ไขปรับปรุงโดยใช้แนวคิด ECRS มาปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสร้างแอปพลิเคชันสแกนคิวอาร์โค้ดบันทึกข้อมูลเลขรหัสสินค้า ขึ้นมาใช้บันทึกข้อมูลแทนการจดแบบเดิม ทำให้สามารถลดระยะเวลาและมีความถูกต้องในการบันทึกเลขรหัสสินค้า และจัดทำทำแผ่นป้ายชื่อสินค้า พร้อมมีชื่อพาร์ทบอกสำหรับเพิ่มความสะดวกต่อการใช้งาน จากการสร้างแผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) และนำหลัก ECRS มาลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่จำเป็นทำให้กระบวนการดำเนินงานในการจัดสินค้าของบริษัท มีขั้นตอนลดลงจาก 17 ขั้นตอน เหลือ 13 ขั้นตอน และระยะเวลาในการจัดสินค้า ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัย พบว่า ด้านการรับรู้ถึงความสะดวกของแอปพลิเคชัน จัดอยู่ในระดับการเห็นด้วยกับปัจจัยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดอยู่ที่ 4.71 ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ของแอปพลิเคชัน จัดอยู่ในระดับการเห็นด้วยกับปัจจัยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดอยู่ที่ 4.75 ด้านการยอมรับที่จะใช้งานแอปพลิเคชัน จัดอยู่ในระดับการเห็นด้วยกับปัจจัยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดอยู่ที่ 4.64
References
คณาวุฒิ ชื่นชม, 2555, การพัฒนาแอปพลิเคชัน ศูนย์รวมข่าวสารจากเครือข่ายออนไลน์สำหรับวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมบนระบบปฏิบัติการ iOS, สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล, 2550,การจัดการขนส่ง, โฟกัสมีเดียแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, กรุงเทพฯ.
ไชยยศ ไชยมั่นคง และมยุขพันธ์ ไชยมั่นคง, 2550, กลยุทธ์การ จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก, ซี.วาย. ซิซเทิม พริ้นติ้ง, นนทบุรี.
จารุวรรณ จีระออน, 2563, “การศึกษาเพื่อปรับปรุง ความปลอดภัยในกระบวนการ ผลิตด้วยการ ฝึกอบรม โดยใช้หลักการ Why–Why Analysis และหลักการ ECRS กรณี ศึกษา บริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด”, Journal of Administration and Management, ฉบับที่ 10, ปีที่ 1, หน้า 14-23.
ภัชรพล สำเนียง, คมฤทธิ์ วะราโพธิ์, กาญจน์กษิต ตียปรีชญา, ธนาฤทธิ์ ศิริวัฒน์, เจษฎาพันธ์ ทหารเสือ, 2019, “การสร้างโมบายแอปพลิเคชันเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ สำหรับวัยรุ่น”, วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SWU Dent J.), ฉบับที่ 12, ปีที่ 2, หน้า 52-64.
อัญชลี คาหนู, 2561, การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า สำหรับโรงงานอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรรถพันธ์ นันทกุลวาณิช, 2556, การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าของคลังสินค้า กรณีศึกษาธุรกิจการผลิตสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค, หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรรถวิทย์ จูกระจ่าง, 2553, การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการพัฒนาระบบสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัท อลูมิเนียม ฉื่อ จิ้น ฮั้ว จากัด, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ภาควิชาการ จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Lee, Y., Kozar, K. A. & Larsen, K. R., 2003, “The technology acceptance model: Past, present, and future”, Communications of the Association for information systems, Vol. 12, No.1), p.50.
Pavakanan, K., 2010, การลดต้นทุนและการ พัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพของงานภายในคลังสินค้า กรณีศึกษาธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้าอุปโภค, Doctoral dissertation, University of the Thai Chamber of Commerce.
Thaenthong, J., Takaew, S. & Sornphrakhanchai, K., 2019, “การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับ ควบคุมเครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยงด้วยการประยุกต์ ใช้ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ทุกสรรพสิ่ง”, Journal of Information Science and Technology, ฉบับที่ 9, ปีที่ 1, หน้า 28-40.
Thiamool, N., 2020, การจัดการคุณภาพ การให้ บริการธุรกิจปล่อยเช่าคลังสินค้า โรงงาน กรณี ศึกษา ผู้ใช้บริการเช่าคลังสินค้าโรงงาน บริษัท โชติ ธนวัฒน์ จำกัด, LAWARATH SOCIAL E–JOURNAL, ฉบับที่ 2, ปีที่ 2, หน้า 53-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT