การยกระดับอาชีพเกษตรกรด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพให้เป็นชาวนาพึ่งพาตนเอง ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
พัฒนาอาชีพ, ส่งเสริมอาชีพ, การพึ่งตนเอง, ชาวนา, ตำบลหนองแสงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะการเป็นชาวนาพึ่งพาตนเองได้ในวิถีความปกติใหม่ (new normal) 2) พัฒนาและสร้างอาชีพด้วยผลิตภัณฑ์จากข้าวและวัสดุหลังนาในชุมชน และ 3) ยกระดับรายได้ให้กับชาวนา ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำของอาชีพกสิกรรมแบบพึ่งพาปุ๋ยเคมี มาเป็น ชาวนาอินทรีย์มืออาชีพ ด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพการเป็นชาวนา โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และเสริมเทคนิคทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่เรื่องดิน ปุ๋ย จุลินทรีย์ การปลูก ปักดำ และการทำเมล็ดพันธุ์ข้าว กลางน้ำที่ประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการได้แก่ สินค้าข้าวในรูปข้าวสารบรรจุถุงสุญญากาศ ข้าวสารบรรจุถุงสำหรับครอบครัว สร้างกิจกรรมหลังนา เช่น การทำสบู่จากรำข้าว และการเพาะเห็ดโดยใช้ฟางข้าว ตลอดจนปลายน้ำที่อุดเสริมช่องทางการขาย เช่น การขายในช่องทางออนไลน์ เพจเฟซบุ๊ค และไลน์ ผู้เข้าร่วมโครงการคือกลุ่มเป้าหมายชาวนาตำบลหนองแสงจำนวน 80 คน เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 8 เดือน ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ คือ องค์ความรู้ในการส่งเสริมทักษะอาชีพการทำนาและเมล็ดพันธุ์ องค์ความรู้ในการส่งเสริมทักษะอาชีพเสริม และ องค์ความรู้ในการวางแผนดำเนินชีวิตและการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการทำนา ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ และเกิดการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1) กลุ่มข้าว 2) กลุ่มสบู่ และ 3) กลุ่มเห็ด มีการรวมทุนในการทำโรงเรือน จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร มีการเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และทดลองจำหน่ายทั้งในช่องทางขายตรงและการขายผ่านไลน์ และมีการจัดทำบัญชีของกลุ่มอาชีพ การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จากอาชีพเสริมช่วยเพิ่มเงินออมให้กับกลุ่มเป้าหมายเฉลี่ยประมาณ 2,000บาท/คน/เดือน ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายอยู่ในช่วงเริ่มต้นการเป็นกลุ่มอาชีพ ยังคงต้องการการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดสายพานอาชีพใหม่ เพิ่มรายได้ครัวเรือนและรายได้ชุมชน เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพต่อไป
References
คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้, 2563,แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และ โครงการภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท (รอบที่ 1), สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรกฏาคม 2563, หน้า 1-18.
กรมทรัพยากรธรณี, 2552, การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดมหาสารคาม, กรุงเทพฯ, หน้า 1-47.
กรวิทย์ ตันศรี, 2557, แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย, ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงหนือ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/Pages/research. aspx, [10/11/2564].
ส่วนสารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตร/ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและสถาบันเกษตรกร, 2563, ภาวะการเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.oae.go.th/view/1/ภาวะการเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร/31802/TH-TH, [10/11/2564].
วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร, วิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ และ มลฤดี จันทรัตน์, 2559, Agribusiness System Management การจัดการระบบธุรกิจเกษตร, สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.agriman.doae.go.th/, [10/11/2564].
มาริษ หัสชู, 2563, การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า สำหรับแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบสินค้าโอทอป, วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, 2563, “ประกาศสนับสนุนทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563”, เอกสารแนบท้ายประกาศ 2, หน้า 16-20.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และ พิมพิมล วงศ์ไชยา, 2560, “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ฉบับที่ 36, (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560), หน้า 192-202.
วิบูล เป็นสุข, อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์, จิรวัฒน์ สนิทชน, สมพร ใจรักพันธุ์ และ อรรจนา ด้วงแพง, 2557, “ศักยภาพและข้อจำกัดของการทำนาระบบกล้าต้นเดียว : กรณีศึกษา บ้านไฮ่หลวง-ผาเวียง เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว”, การประชุมวิชาการระดับชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัย ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2557, “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว มาตรฐานเลขที่ มกษ. 4406-2557”, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 200 ง, 6 ตุลาคม 2557.
ไพรัช พงษ์วิเชียร, 2552, อิทธิพลของระดับความเค็มต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ105, กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www1.ldd.go.th/WEB_PSD/Employee%20Assessment/wean/pch/pch41/1.pdf, [10/11/2564].
เทคโนโลยีชาวบ้าน, 2562, ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวหอมมะลิดีเด่น จังหวัดมหาสารคาม, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_107846, [10/11/2564].
วนิดา เสร็จกิจ, 2563, “การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในบริบทของการพัฒนาประเทศ”, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, หน้า 73-98.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT