เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์อาหาร, การถนอมอาหาร, การบรรจุภัณฑ์, อายุการเก็บบทคัดย่อ
เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร ให้ปลอดภัยในการบริโภคมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหาร ในการประเมินอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องมีการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่ยอมให้มีได้ในอาหาร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของอาหาร และการรับรู้ทางประสาทสัมผัส เช่น รส กลิ่น และเนื้อสัมผัสของอาหาร ชนิดวัสดุและประเภทของบรรจุภัณฑ์ส่งผลต่อการเก็บอาหาร การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยปกป้องผลิตภัณฑ์อาหารจากปัจจัยที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพได้ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านชีวภาพ คือการเจริญเติบโตของแบคทีเรียโดยอาศัยก๊าซออกซิเจน 2) ปัจจัยทางด้านเคมี คือการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และ 3) ปัจจัยด้านกายภาพ คือการเสื่อมสภาพเนื่องจากการดูดน้ำของอาหาร องค์ประกอบ 3 ประการที่เกี่ยวเนื่องกันและมีผลต่ออายุการเก็บของอาหาร ได้แก่ สมบัติของอาหาร สภาวะในการเก็บรักษา และเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการอาหารจำเป็นต้องศึกษาอายุการเก็บของอาหารที่บรรจุใน บรรจุภัณฑ์แล้ว ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ การศึกษาอายุการเก็บตามสภาวะจริง และการศึกษาโดยการคาดคะเน เพื่อสามารถระบุอายุการเก็บไว้ที่บรรจุภัณฑ์ก่อนออกตลาด เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุการเก็บอาหาร เช่น การลดก๊าซออกซิเจน ในช่องว่างของบรรจุภัณฑ์ การใช้บรรจุภัณฑ์แอกทีฟ และการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันไอน้ำและก๊าซออกซิเจนได้ดี เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีการถนอมอาหารที่ใช้ความร้อนหรือความดันสูง เช่น hot filling, aseptic system, pasteurization, sterilization, high pressure processing จะช่วยยืดอายุการเก็บอาหารได้ด้วย
References
มยุรี ภาคลำเจียก, 2564, "Global Food Packaging Trends for Next Normal", เอกสารประกอบการบรรยายในสัมมนา, จัดโดย ProPak Asia 24 สิงหาคม 2564.
มยุรี ภาคลำเจียก, 2562, "อายุการเก็บ และการบรรจุเพื่อยืดอายุการเก็บของอาหาร”, บรรจุภัณฑ์อาหาร สำหรับ SME, ตอนที่ 7, มกราคม 2562, บริษัทจินดาสาส์นการพิมพ์ จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT