ความต้องการสมรรถนะด้านแรงงานและการผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความต้องการแรงงาน, การผลิตกำลังคน, ตลาดแรงงาน, สมรรถนะด้านแรงงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ 2) การผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) สมรรถนะของแรงงานที่ผู้ประกอบการต้องการ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่มีข้อมูลความต้องการแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 แห่ง และสถานศึกษาที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 19 แห่ง และสถานประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ผลข้อมูลเป็นค่าร้อยละ และจัดเรียงอันดับ แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบคำอธิบาย สำหรับแบบสัมภาษณ์ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,314 คน ในประเด็นข้อมูลความต้องการของตลาดแรงงานจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ลำดับที่ 1 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือต่ำกว่า ลำดับที่ 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ลำดับที่ 3 ระดับปริญญาตรี ลำดับที่ 4 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และลำดับที่ 5 อื่น ๆ (ไม่ระบุระดับการศึกษา) ตามลำดับ
- การผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามประเภทวิชา พบว่า ลำดับที่ 1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ลำดับที่ 2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ลำดับที่ 3 ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ลำดับที่ 4 ประเภทวิชาเกษตรกรรม ลำดับที่ 5 ประเภทวิชาคหกรรม ลำดับที่ 6 ประเภท วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลำดับที่ 7 ประเภทวิชาศิลปกรรม และลำดับที่ 8 ประเภทวิชาประมง และประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตามลำดับ
3. สมรรถนะของแรงงานที่ผู้ประกอบการต้องการ พบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในด้านสมรรถนะทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ อันดับที่ 1 ด้านทักษะการอ่าน การเขียน การพูด ภาษาต่างประเทศ อันดับที่ 2 ด้านทักษะการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ อันดับที่ 3 ด้านทักษะด้านความเข้าใจ ความต่างวัฒนธรรมและความต่าง ด้านความคิด ทัศนคติ อันดับที่ 4 ด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา อันดับที่ 5 ด้านทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ อันดับที่ 6 ด้านทักษะด้านการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ อันดับที่ 7 ด้านทักษะด้านคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และอันดับที่ 8 ด้านทักษะด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2560. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2561. รายงานการวิจัยอนาคตภาพของการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาตามความต้องการของตลาดแรงงานและทิศทางการพัฒนาประเทศ. นนทบุรี: 21เซ็นจูรี่.
กฤติกา ตันประเสริฐ. 2564. Micro-credentials สำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา Micro-credentials for Professional Development for Educator. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี. 1(2), 34-43.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 2561. สรุปผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา. [ระบบออนไลน์], Retrieved March 2022 แหล่งที่มา https://tinyurl.com/5n83k83u
ทรงวุฒิ เรือนไทย, สาธร ทรัพย์รวงทอง และนันทิยา น้อยจันทร์. 2564. รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 21(1), 145-158.
ชวลิต ขอดศิริ, วชิรา เครือคำอ้าย และจักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. 2565. ทิศทางและแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการประถมศึกษาในยุค Digital Disruption. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 17(1), 1-16.
บุญเดิม พันรอบ. 2553. แนวคิดความต้องการแรงงาน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการวางแผนการ สรรหาและการคัดเลือก. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. 2559. มอบนโยบายผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ. [ระบบออนไลน์], Retrieved May 2022 แหล่งที่มา https://bit.ly/3uzfflZ
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2559. คนเก่งสร้างได้ : อารยโมเดลสมรรถนะ KSL31220. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Journal of Learning Innovation and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT