การแยกฟอยล์ออกจากเยื่อกระดาษที่ผ่านการเดินรอยร้อนเพื่อทำกระดาษรีไซเคิล
คำสำคัญ:
กระดาษรีไซเคิล, การเดินรอยร้อน, การแยกฟอยล์ออกจากกระดาษบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกชั้นฟอยล์ออกจากกระดาษที่ผ่านการเดินรอยร้อนมาแล้ว และนำเยื่อที่ได้ไปขึ้นแผ่นกระดาษรีไซเคิลพร้อมทั้งศึกษาสมบัติทางทัศนศาสตร์และสภาพพิมพ์ได้ของกระดาษ โดยทดลองทำชิ้นงานตัวอย่างที่ผ่านการเดินรอยร้อนด้วยฟอยล์ไม่มีสี (ฟอยล์เงิน) และฟอยล์มีสี (ฟอยล์ชมพู) บนกระดาษอาร์ต 130 แกรม โดยมีพื้นที่ฟอยล์ 3 ระดับคือ ร้อยละ 25, 50 และ 75 บนพื้นที่กระดาษ 100 ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ทำการแยกฟอยล์ออกจากเยื่อกระดาษโดยฉีกชิ้นงานตัวอย่างแล้วนำไปแช่น้ำและสารละลายอะซิโตน จากนั้นเปรียบเทียบลักษณะและสมบัติของกระดาษรีไซเคิลระหว่างแผ่นทดสอบ (ผ่านการเดินรอยร้อน) และแผ่นควบคุม (ไม่ผ่านการเดินรอยร้อน) โดยใช้กระบวนการเช่นเดียวเดียวกัน พบว่า มีจำนวนจุดฟอยล์หลงเหลือบนกระดาษรีไซเคิลมาก เมื่อกระดาษตั้งต้นที่ใช้รีไซเคิลมีพื้นที่ฟอยล์บนกระดาษระดับมาก และการใช้ฟอยล์ชมพูปรากฎจุดฟอยล์หลงเหลือบนผิวกระดาษชัดเจนกว่าฟอยล์เงิน การแช่ชิ้นงานในสารละลายอะซิโตนทำให้ชั้นสีของฟอยล์ละลายออกมา จึงทำให้กระดาษรีไซเคิลมีสมบัติทางทัศนศาสตร์ดีกว่าการแช่ในน้ำ ส่วนด้านความมันวาว การรับหมึกพิมพ์ และความทนทานต่อการขัดถูของหมึกพิมพ์ ไม่แตกต่างกันระหว่างแผ่นทดสอบและแผ่นควบคุม ดังนั้นกระดาษที่ผ่านการเดินรอยร้อนมาแล้ว สามารถแยกฟอยล์ออกจากเยื่อ แล้วมาทำกระดาษรีไซเคิลที่มีคุณภาพและใช้พิมพ์งานได้ แต่พื้นที่ฟอยล์บนชิ้นงานไม่ควรเกินร้อยละ 50 และควรใช้สารละลายอะซิโตนในการทำละลายชั้นสีของฟอยล์
References
บริษัท ต้นฉบับ จำกัด (2565). การปั๊มฟอยล์ด้วยความร้อน ความรู้และเทคนิคพิเศษที่โรงพิมพ์ต้องรู้, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.tonchabub.co.th/article/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/, เข้าดูเมื่อวันที่ 9/10/2564.
Murata Kimpaku, Thailand (2022). Hot Stamping Foils, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.murata-kimpaku-thailand.com/14757085/about-foils, เข้าดูเมื่อวันที่ 17/09/2564.
รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์ และ ธีรชัย รัตนโรจน์มงคล (2542). กระดาษรีไซเคิล, วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, ปีที่ 47, ฉบับที่ 151, หน้า 11-15.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2563). ธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์กระดาษ, บทวิเคราะห์ธุรกิจ, หน้า 5.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (2560) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กระดาษรีไซเคิล [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0809_60(%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8B2%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A5).pdf
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (2549). ISO 12647-6 : 2006, [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.fio.co.th/web/tisi_fio/fulltext/TIS2260_6-2549.pdf
อรัญ หาญสืบสาย (2542). ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพิมพ์, สุรการพิมพ์, กรุงเทพฯ, หน้า 41-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT