การเปรียบเทียบคุณภาพงานพิมพ์ EPM และรูปแบบการพิมพ์ CMYK ของระบบการพิมพ์ดิจิทัลออฟเซต LEP

ผู้แต่ง

  • พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • กานต์ธิดา จัดกระโทก ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ฉันทิศา บุญญฤทธิ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพงานพิมพ์, เครื่องพิมพ์ดิจิตอลออฟเซต, งานพิมพ์ EPM, งานพิมพ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของรูปแบบการพิมพ์ EPM และรูปแบบการพิมพ์ CMYK ของระบบดิจิทัลออฟเซตประเภท Liquid Electrophotography (LEP) โดยทำการพิมพ์แผ่นตารางสีทดสอบ TC 3.5 CMYK และแบบทดสอบ Altona Test Suite เวอร์ชั่น 1.2 ด้วยเครื่องพิมพ์ HP Indigo 12000 ในรูปแบบการพิมพ์ EPM และรูปแบบการพิมพ์ CMYK นำแบบทดสอบมาทำการตรวจวัดคุณภาพงานพิมพ์ และให้ผู้เชี่ยวชาญทำการเลือกงานพิมพ์ที่มีคุณภาพมากที่สุด ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพงานพิมพ์รูปแบบการพิมพ์ EPM มีค่าสีซีแล็ป (CIELAB) ใกล้เคียงกับรูปแบบการพิมพ์ CMYK ในช่วงสว่าง (highlight) โดยรูปแบบการพิมพ์ CMYK ให้ขอบเขตสีที่กว้างกว่ารูปแบบการพิมพ์ EPM ในการเลือกงานพิมพ์ที่มีคุณภาพมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญทำการเลือกภาพจากรูปแบบการพิมพ์ CMYK มากกว่าคือ ภาพสีผิว ภาพขาวดำ ภาพสองสี ภาพโทนมืด ภาพสัตว์ ภาพโลหะ ภาพผลไม้สีสด และภาพการ์ตูน เพราะภาพที่ได้มีความเข้ม คมชัด และเหมือนธรรมชาติ ส่วนภาพจากรูปแบบการพิมพ์ EPM ผู้เชี่ยวชาญเลือกภาพโทนสว่าง ภาพงานแต่งงาน ภาพลายเสื้อผ้า และภาพอาหาร ดังนั้นรูปแบบการพิมพ์ EPM จึงเหมาะกับการพิมพ์ภาพที่มีปัญหาลายเสื่อและภาพที่มีโทนสว่าง

References

สุภาวดี ธีรธรรมากร และคนอื่น ๆ, 2556, สัมมนา เรื่อง นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลกับการผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์, 3 พฤษภาคม 2556, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, หน้า 3-8.

HP INDIGO, HP Indigo EPM Preflight Solution - Impressed [Online], Available: https://www.impressed.de/DOWNLOADS/Switch/HP_Indigo_EPM_Preflight_Solution_BundBu.pdf [10 เมษายน 2562].

พรศักดิ์ ชื่นวิจิตร, 2540, เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีก่อนพิมพ์ Pre-Press Technology, พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ, หน้า 20-21.

บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, กรงเทพฯ, หน้า 104-105.

Spiridonov, I., Shopova, M., 2013, “Determination of the Effect of Gray Component Replacement Level on Colorimetric Characteristics of Color Proof”, Journal of Chemical Technology and Metallurgy, Vol. 48, No. 3, pp. 247-253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30