รถสีข้าวพลังงานไฟฟ้าสำหรับกลุ่มเกษตรกรชุมชน

ผู้แต่ง

  • ขรรค์ชัย ตุลละสกุล ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

รถสีข้าวไฟฟ้า, รถไฟฟ้า, สีข้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างรถสีข้าวพลังงานไฟฟ้าสำหรับกลุ่มเกษตรกรชุมชนและหาประสิทธิภาพของรถสีข้าวพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้น รถยนต์ไฟฟ้าที่ออกแบบมีลักษณะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 4 ล้อ แบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) โดยมีระบบน้ำมันและไฟฟ้าเหมือนยานยนต์ไฮบริด แต่เพิ่มการเสียบปลั๊กชาร์จไฟสำหรับชาร์จแบตเตอรี่รถและใช้เป็นฐานสำหรับติดตั้งเครื่องสีข้าวพลังไฟฟ้าขนาดเล็ก ตัวรถที่ออกแบบมีขนาดกว้าง 1.3 เมตร ยาว 3.5 เมตร และสูง 1.9 เมตร มีโครงผ้าใบสแตนเลส สำหรับกันแดดและกันฝนขณะปฏิบัติงาน มีจอภาพอยู่เหนือพวงมาลัยรถเพื่อแสดงโปรแกรมบันทึกข้อมูลการสีข้าวของเกษตรกร และระบุพิกัดสถานที่ ร่วมกับโปรแกรม Google Map หลังจากการออกแบบและสร้าง ได้นำรถสีข้าวพลังงานไฟฟ้าไปทำการทดลองหาประสิทธิภาพของตัวรถและระบบสีข้าวพบว่าอัตราการใช้พลังงาน 62.4 Wh ต่อกิโลเมตร เวลาประจุแบตเตอรี่จนเต็มไม่เกิน 9 ชั่วโมง เมื่อนำไปทดสอบสีข้าวกล้องและข้าวขาว ได้กำลังการผลิต 80-100 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อชั่วโมง แปรรูปได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัมต่อครั้ง เมื่อเทียบปริมาณข้าวเต็มเมล็ดกับข้าวที่หัก เครื่องสีข้าวมีประสิทธิภาพของการสีข้าวกล้อง 70 % โดยใช้ข้าวเปลือกเก่า ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ของหมู่บ้าน        หูทำนบ ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นข้าวที่ใช้ทดสอบในการสี รถสีข้าวพลังงานไฟฟ้าที่ออกแบบ สามารถเคลื่อนที่นำไปใช้ในการสีข้าวนอกสถานที่ บริเวณจุดศูนย์รวมชุมชน หรือลานทุ่งนาของชาวนาเอง โดยไม่ต้องเดินทางมาสีข้าวที่โรงสี ชาวนามั่นใจได้ 100% ว่าข้าวที่ได้จากการสีข้าวเป็นข้าวที่มาจากนาของตนเอง

References

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 2559, เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับชุมชน, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.nstda.or.th/agritec/technology/plant/rice/315-rice-mill, เข้าดูเมื่อวันที่ 1/10/2562.

ยุทธนา โคมลอย และธีรชัย ธำรงเจิดสิริ, 2549, การออกแบบและเปรียบเทียบเครื่องสีข้าวกล้อง, วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวัฒน์ สงวนเขียว, สัมพันธ์ คงเจริญ และนิพนธ์ จงไพศาลสกุล, 2544, เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก, วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศศิธร แต่งงาม, 2554, การพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กที่เหมาะสมกับการใช้ในครัวเรือน, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุรสิทธิ์ ช่อวงศ์, 2553, การสร้างเครื่องสีข้าวกล้อง, สารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มกราคม – เมษายน 2553), หน้า 133-143.

Olufemi Bamidele Busari, 2016, Development of A Low Cost Rice Milling Machine, Journal of Engineering and Technology, pp. 85-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27