การบริการความรู้สู่สังคมในรูปแบบออนไลน์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ์ จันทร์งาม สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อธิคุณ สินธนาปัญญา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การให้บริการความรู้สู่สังคม, สื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์, การพัฒนาสื่อการเรียนรู้, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การให้บริการความรู้สู่สังคมแบบออนไลน์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กจังหวัดอ่างทอง 2) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการให้บริการความรู้สู่สังคมแบบออนไลน์ด้านพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กจังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดอ่างทอง จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ 1) คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจการให้บริการความรู้สู่สังคมในรูปแบบออนไลน์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการทดสอบ เครื่องมือทางสถิติในการศึกษาเป็นแบบประเมินวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและใช้การทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์โดยการทดสอบระดับนัยสำคัญผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการให้บริการความรู้สู่สังคมแบบออนไลน์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของครูที่มีต่อการให้บริการความรู้สู่สังคมในรูปแบบออนไลน์มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2563). คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. กองบริการการศึกษา. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.[ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00114f2020033113083125.pdf เข้าดูเมื่อวันที่ 12/09/2564.

กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย และสุรเชษฐ์ จันทร์งาม. (2565). รูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียนเกมมิฟิเคชันกลับด้านบนคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2(1), หน้า 32-40.

Suzanne Carrington and Radha Iyer (2011). Service-Learning Within Higher Education: Rhizomatic Interconnections Between University And The Real World. Australian Journal of Teacher Education. 36(6), pp. 1-14

ปาริชาติ ประเสริฐสังข์ และธีรศาสตร์ คณาศรี. (2560). การบริการสังคมกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(2), หน้า 8-16.

ธนีนาฏ ณ สุนทร. (2561). USC- Service Learning Model: สู่การพัฒนานักศึกษาในยุค Thailand 4.0, วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), หน้า 325-344

รุ่งโรจน์ หวังชม และ ประสงค์ สายหงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(2), หน้า 699-713.

ณัฏฐพัชร สโรบล. (2562). การเรียนรู้จากงานบริการวิชาการแก่สังคม (Service Learning) ผ่านประสบการณ์ภาคสนาม : โครงการนวัตกรรมบ้านต้นแบบสุขภาวะ เทศบาลตำบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 27(1), หน้า 91-110

วิทัศน์ ฝักเจริญผล กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล พินดา วราสุนันท์ กุลธิดา นุกูลธรรม สุมิตร สุวรรณ สินีนุช สุวรรณาภิชาติ และกิติศาอร เหล่าเหมณี. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19, วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 4(1), หน้า 44-61.

กฤษณพงศ์ เลิศบํารุงชัย และปณิตา วรรณพิรุณ, (2561). รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนเน็กติวิสตผานคลาวดเทคโนโลยีเพื่อสงเสริมการสรางนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), หน้า 221-228.

นภาจิตร ดุสดี และปณิตา วรรณพิรุณ. (2563). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านคลาวด์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครู. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(3), หน้า 163-172.

สุรเชษฐ จันทรงาม และพัลลภ พิริยะสุรวงศ. (2561). รูปแบบการเรียนรูแบบหองเรียนกลับดานผสานดวยความจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะหของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), หน้า 229-240.

อนุวัฒน์ สุวรรณมาตย์. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1, วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), หน้า 93-107.

ชนารักษ์ เวชสวัสดิ์ และประสาท เนืองเฉลิม. (2564). การเรียนรู้โดยการบริการสังคมกับการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู, วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), หน้า 7-15.

คเชนทร์ กองพิลา วชิระ อินทร์อุดม และสังคม ภูมิพันธุ์. (2559). แบบจำลองการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์, วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(4), หน้า 19-25.

ชนันท์ธิดา ประพิณ กอบสุข คงมนัส ช่อบุญ จิรานุภาพ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), หน้า 30-47.

James Zagrodnik, Natalie A. Williams, Patrick A. Leytham (2017). Pre-Service Educator Preparation to Teach Children with Disabilities Through Service-Learning. International Journal of Research on Service-Learning and Community Engagement. 5(1), pp. 161-180.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), หน้า 285-298.

Trisna Andarwulan, Taufiq Akbar Al Fajri, Galieh Damayanti, (2021). Elementary Teachers' Readiness toward the Online Learning Policy in the New Normal Era during Covid-19. International Journal of Instruction. 14(3), pp. 771-786.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22