การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ

ผู้แต่ง

  • วีรินทร์ภัทร ลือศักดิ์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วราพร บุญยวงศ์วิวัชร ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะการเขียนสะกดคำ, บทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR), ความบกพร่องทางการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ ก่อนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR)  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 8 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชุด 9 บทเรียน จำนวน 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนจำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อบทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า E1/E2  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.75/87.50  2) ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อบทเรียนสำเร็จรูป Augmented-Reality (AR) ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.94

References

วิไลลักษณ์ แก้วกระจ่าง, 2554, ความสำคัญของการเขียน, แหล่งที่มา https://research.rmutsb.ac.th /.pdf. เข้าดูเมื่อวันที่ 16/11/2564.

สถาบันราชานุกูล, 2561, ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, แหล่งที่มา https://th.rajanukul.go.th, เข้าดูเมื่อวันที่ 16/11/2564.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, 2561, ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, แหล่งที่มา https://www.happyhome clinic.com, เข้าดูเมื่อวันที่ 16/11/2564.

โรงพยาบาลกรุงเทพ, 2559, ลักษณะความบกพร่องทางการเรียนรู้., แหล่งที่มา https://www.bangkok hospital.com/center-clinic/child-wellness, เข้าดูเมื่อวันที่ 16/11/2564.

Johnson, L., Levine, A., Smith, R., & Stone, S., 2010, Simple augmented reality. The 2010 Horizon Report, 21-24. Austin, TX: The New Media Consortium

Azuma, R. T., 1997, A survey of augmented reality. Presence: Teleoperators and Virtual Environments 6, 4 (August 1997), 355-385. Cambridge, MA: The MIT Press

Cakir, R., & Korkmaz, O., 2019, The effectiveness of augmented reality environments on individuals with special education needs. Education and Information Technologies, 24(2), 1631-1659. https://doi.org/10.1007/s10639-018-9848-6

ณรงค์ ล่ำดี, 2560, รายงานการวิจัยเรื่อง สื่อความจริงเสริมเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง สัตว์ป่าสงวนของไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

อภิชาติ เหล็กดี, วรปภา อารีราษฏร์ และฐิติมา ผ่องแผ้ว, 2560, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด, วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 177-186

ธัญนันท์ เตชะจักรวงศ์, 2564, การใช้โปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในเด็กออทิสติก, เชียงใหม่: ศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคลที่มีความต้องการพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ธนันท์ลดา วรรณคำ, 2552, การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ปทุมธานี, สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรระวี มณีขัติย์, 2562, รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป Augmented Reality (AR), คณะครุศาสตร์สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27