การพัฒนาชุดเกม Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • พรนภัส ใหญ่วงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อังคณา อ่อนธานี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

เกมUnplugged Coding, ทักษะการคิดเชิงคำนวณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดเกม Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้ชุดเกม Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  จังหวัดตาก จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดเกม Unplugged Coding เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบทดสอบ
วัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ( T-test Dependent) และเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ75 โดยใช้สถิตทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (T-test One Sample)

      ผลการวิจัยพบว่า

      1) ชุดเกม Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นจำนวน 6 ชุด ได้แก่ เกมจับผิดภาพผ้าปักลายม้ง เกมเติมต่อลายม้ง เกมgraph paperลายม้ง เกมโค้ดดิ้งหุ่นยนต์สร้างลายม้ง เกมการผจญภัยของหนูน้อยนักออกแบบลายและเกมหนูน้อยนักสร้างลาย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.00/91.80

      2) นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงคำนวณระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดเกม Unplugged Coding มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัล (2562). หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งสู่สังคมดิจิตัลในอนาคต,กรุงเทพฯ: หน้า 12.

วิเชียร พงศธร (1 มีนาคม 2562). เปลี่ยนตัวเองสู่วัยรุ่นในศตวรรษที่ 21, มูลนิธิยุวพัฒน์, เปลี่ยนตัวเองสู่วัยรุ่นในศตวรรษที่21-มูลนิธิยุวพัฒน์ (yuvabadhanafoundation.org), เข้าดูเมื่อวันที่ 15/10/2564

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564). รูปแบบชุดกิจกรรมและตัวอย่างกระบวนการ, แม่สอด: บริษัทโพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด, หน้า 10.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2564). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณCodingเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, หน้า 69.

แพท ยงประดิษฐ์ (2020). การศึกษาไทยในยุคที่โลกหมุนด้วยการโค้ด,The Matter, แหล่งที่มา The MATTER — Make News Relevant., เข้าดูเมื่อวันที่ 12/10/2564.

สิราวิชญ์ จิราวราเกียรติ (2564). รู้ก่อนสาย! Coding ฉบับเข้าใจง่าย มันใกล้ตัวเราแค่ไหน เริ่มต้นยังไงกับเยาวชน, Beartai, แหล่งที่มาhttps://www.beartai.com/article/tech-article/582417, เข้าดูเมื่อวันที่ 25/10/2564.

Luzia Leifheit, Julian Jabs, Manuel Ninaus, Korbinian Moeller and Klaus Ostermann (2019). Programming Unplugged: An Evaluation of Game-Based Methods for Teaching Computational Thinking in Primary School, pp. 344-353.

Tsarava, K., Moeller, K.Pinkwart, N.,Butz, M., Trautwein,U. and Ninaus,M (2017). Training Computational Thinking : Game-Based Unplugged and Plugged-in Activities in peimary School, 11th European Conference on Game-Based Learning ECGBL2017, 11, pp. 687-695.

ประภัสสร สำลี (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3, วารสารวิจัยนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร,4(2) ธันวาคม 2564, หน้า 181-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22