เทคโนโลยีสมาร์ทกริดกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ผู้แต่ง

  • ยอดธง เม่นสิน วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นิพนธ์ เกตุจ้อย วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิสุทธิ์ แช่มสะอาด วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธวัช สุริวงษ์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พรทิพย์ เม่นสิน วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มาลินี แก้วปัญหา วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พัชรินทร์ เยาวรัตน์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ประพิธาริ์ ธนารักษ์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสมาร์ทกริด, ความเป็นกลางทางคาร์บอน, ความยืดหยุ่นของระบบโครงข่ายไฟฟ้า

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นประเทศที่มีความเปราะบางและมีความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น จึงต้องมีการดำเนินการตามมาตรการระหว่างประเทศที่มุ่งสู่การเติบโตด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการบูรณาการกับแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว การเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล องค์ความรู้และความตระหนักรู้ของประชาชน เทคโนโลยีสมาร์ทกริดมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เนื่องจากภาคพลังงานและขนส่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่สูง ระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความชาญฉลาดยิ่งขึ้นจากการเชื่อมโยงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากหลายด้านเข้าด้วยกัน อาทิ เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านการตรวจวัด เทคโนโลยีการด้านการควบคุมและสั่งการ เทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้าและการส่งจ่ายไฟฟ้า เทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการพลังงาน ตลอดจนเทคโนโลยีด้านการพยากรณ์และคาดการณ์ เป็นต้น เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ถูกจัดสรรให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีระบบ ก็ย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้า ความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้พลังงาน การพัฒนาการทำงานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้า การกำหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสมาร์ทกริดช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการบูรณาการเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources) ประเภทต่าง ๆ ที่จะเติบโตตามแนวโน้มของโลกร่วมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามกรอบแผนพลังงานชาติ

References

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, 2564, รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, 2565, รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่.

Bloomberg NEF, 2019, Battery Pack Prices Fall as Market Ramps Up with Market Average at $156/kWh in 2019, URL: https://about.bnef.com/blog/battery-pack-prices-fall-as-market-ramps-up-with-market-average-at-156-kwh-in-2019/, accessed on 01/05/2022.

International Renewable Energy Agency, IRENA, 2020, Global Renewables Outlook: Energy transformation 2050, URL: https://www.irena.org/publications/2020/Apr/Global-Renewables-Outlook-2020, accessed on 01/05/2022.

International Renewable Energy Agency, IRENA, 2020, Remap – Renewable Energy Roadmaps, URL: https://www.irena.org/remap, accessed on 01/05/2022.

International Renewable Energy Agency, IRENA (2022). World Energy Transitions Outlook: 1.5 C Pathway, URL: https://www.irena.org/publications/2022/Mar/World-Energy-Transitions-Outlook-2022, accessed on 01/05/2022.

UNFCCC, 2015, COP 21 – Reports, URL: https://unfccc.int/process-and-meetings/conferences/past-conferences/paris-climate-change-conference-november-2015/cop-21/cop-21-reports, accessed on 01/05/2022.

World Energy Council, 2021, World Energy Trilemma Index, URL: https://www.worldenergy.org/transition-toolkit/world-energy-trilemma-index, accessed on 01/05/2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27