การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อ เสริมสร้างจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยในสังคมพหุวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ลลิดา แก้วนาหลวง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อังคณา อ่อนธานี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครอบครัว, จิตรู้เคารพ, การจัดประสบการณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อเสริมสร้างจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยในสังคมพหุวัฒนธรรมตามเกณฑ์ 75/75  2. เพื่อเปรียบเทียบจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อเสริมสร้างจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยในสังคมพหุวัฒนธรรม  ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามี 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อเสริมสร้างจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยในสังคมพหุวัฒนธรรมตามเกณฑ์ 75/75 โดยพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จำนวน 3 คน เพื่อนำไปตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษาและเวลา จากนั้นปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 9 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมตามเกณฑ์ 75/75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม แบบประเมินความเหมาะสมคู่มือกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อเสริมสร้างจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยในสังคมพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร E1/E2

ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อเสริมสร้างจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัยในสังคมพหุวัฒนธรรม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดจิตรู้เคารพของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3/4  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  จำนวน 27 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบแผนการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design

ผลการวิจัยพบว่า

1.กิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตัดสินใจ 2) ขั้นการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ 3) ขั้นการส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 4) ขั้นการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.8 ,S.D. = 0.29) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.57/75.41

 2. ผลกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว จิตรู้เคารพของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 , กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรปฐมวัย พุทธสักราช 2560, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Gardner. (2009). Five Minds for the future. Harvard Business School Publishing Corporation.

เสาวลักษณ์ อัศวเทววิช และ วีรวุธ มาฆาศิรานนท์. (2551). จิต 5 ปั้นยอดมนุษย์, กรุงเทพฯ : บริษัท เอ็กซ์เปอร์เน็ท จํากัด.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิควิจัยทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวียาสาส์น.

Cohen Uphoff (1977, น. 7-10)

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับโรงเรียน, วารสารการศึกษาปฐมวัย,6,4 (2545): 68-73.

ทิศนา แขมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22