การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, กิจกรรมเป็นฐาน, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กลุ่มเรียน 16 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน จำนวน 3 กิจกรรม (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน จำนวน 3 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน (4) แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคํานวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรายวิชาทักษะชีวิตเพื่อสังคมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษารายวิชาทักษะชีวิตเพื่อสังคม 3 ด้าน คือ ด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ และด้านประโยชน์และการประยุกต์ใช้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62
References
Sinthapanon, S. (2015). Learning management of modern teachers to improve the skills of learners in the 21st century. Bangkok: 9119 Technical Printing Limited Partnership.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.
Collins, J. W. & O’Brien, N. P. (2003). The Greenwood Dictionary of Education. URL: http://twitmails3.s3-website-eu-west-1. a m a z o n a w s. c o m / u s e r s / 3 5 5 7 5 7 8 3 2 / 16 / a t t a c h m e n t /JV1lIiEbdy%20%20%D9%85%D8%B1%D8%AC%D8%B9%20%D8%A7%D8%AC%D9%86%D8%A8%D9%8A.pdf, accessed on 11/02/2022.
ขวัญชัย ขัวนา และ ธารทิพย์ ขัวนา. (2562). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, วารสารบัณฑิตศึกษา, 16, เมษายน – มิถุนายน 2562, หน้า 13.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิสา สุวรรณชัยรบ ต้องตา สมใจเพ็ง และ ชานนท์ จันทรา. (2564) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธีเชิงอภิปัญญาที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8, มกราคม 2564, หน้า 214 – 215.
ภัทรสร นรเหรียญ และ ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.). 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563, หน้า 56.
กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ และ พัชรินทร์ ชมภูวิเศษม. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 2, พฤษภาคม – สิงหาคม 2563. หน้า 29 – 40.
วิชา เลี่ยมสกุล ทรงศักดิ์ สองสนิท และ พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4, ตุลาคม - ธันวาคม 2562. หน้า 98 – 109.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT