เฉดสีของกระดาษและการลามิเนตชนิดเงาส่งผลต่อสีของงานพิมพ์ออฟเซต
คำสำคัญ:
สีของกระดาษ, การลามิเนตเงา, ขอบเขตสี, ความแตกต่างสีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาสีของกระดาษ และการลามิเนตเงาส่งผลต่อสีของงานพิมพ์และการตัดสินใจยอมรับงานพิมพ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกกระดาษที่มีสีต่างกัน 3 ตัวอย่าง กระดาษชนิด A คือ กระดาษสีขาว กระดาษชนิด B คือ กระดาษสีขาวอมฟ้า และกระดาษชนิด C คือ กระดาษสีขาวอมแดง สร้างแม่พิมพ์ที่มีแบบทดสอบสีภาพพิมพ์และทำการพิมพ์ทดสอบลงบนกระดาษทั้ง 3 ชนิด จากนั้นนำตัวอย่างกระดาษทั้ง 3 ชนิดไปลามิเนตเงา นำมาเปรียบเทียบสี ขอบเขตสีของงานพิมพ์ และความแตกต่างสีของภาพพิมพ์บนกระดาษ 3 ชนิด ภาพพิมพ์ก่อนและหลังลามิเนตเงาบนกระดาษแต่ละชนิด ประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สีของกระดาษมีผลต่อสีของงานพิมพ์ กระดาษเฉดสีขาวอมฟ้าให้ภาพพิมพ์แสดงขอบเขตสีช่วงสีน้ำเงินมากขึ้น ส่วนกระดาษที่มีสีขาวอมแดงก็จะทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้แสดงขอบเขตสีช่วงสีแดงมากขึ้นเช่นกัน ส่วนการลามิเนตเงานั้นจะทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้แสดงขอบเขตสีช่วงสีเหลืองเพิ่มขึ้น และจะมีผลกระทบต่อสีเขียวบนภาพพิมพ์มากที่สุด ภาพพิมพ์บนกระดาษชนิด A ก่อนและหลังลามิเนตเงามีค่าความแตกต่างสีน้อยที่สุด เมื่อนำภาพพิมพ์ที่ได้จากกระดาษทั้ง 3 ชนิด มาให้กลุ่มตัวอย่างเลือก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่า ร้อยละ 50 เลือกภาพพิมพ์ที่ได้จากกระดาษชนิด A โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ภาพพิมพ์ที่ได้จากกระดาษพิมพ์ชนิด A ให้สีของภาพพิมพ์ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด
References
[ 1 ] รุ่งอรุณ วัฒนวงค์, 2542, เอกสารการสอนชุดวิชาวัสดุทางการพิมพ์ (Printing Materials), พิมพ์ครั้งที่ 4, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี, หน้า 7-9.
[ 2 ] อรัญ หาญสืบสาย, 2547, มาตรฐานการพิมพ์ออฟเซต, บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ, หน้า 15-23.
[ 3 ] บุญชัย วลีธรชีพสวัสดิ์, 2548, เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพิมพ์ งานหลังพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี, หน้า 210-211.
[ 4 ] เอกสารการฝึกอบรมวิชา การผลิตและควบคุมคุณภาพงานพิมพ์, การควบคุมคุณภาพงานหลังพิมพ์: โรงพิมพ์ไพ่ กรมสรรพสามิต, กรุงเทพฯ, 2549, หน้า 116-127.
[ 5 ] ผกามาศ ผจญแกล้ว, 2550, คุณภาพการพิมพ์ออฟเซตตาม ISO12627-2, ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี, หน้า 7-15.
[ 6 ] พรทวี พึ่งรัศมี และอรัญ หาญสืบสาย, 2537, สาระน่ารู้เรื่องกระดาษพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด, กรุงเทพฯ, หน้า 132.
[ 7 ] พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง, วุฒิพงศ์ กองอนันต์เดช และ อ้อมจันทร์ วงศ์วิเศษ, 2557, “การเปรียบเทียบคุณภาพสีบนแผ่นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตที่มีอายุการใช้งานต่างกัน กับแผ่นจำลองสิ่งพิมพ์ ตามข้อกำหนด ISO 12647-2 บนกระดาษเคลือบผิว” The 1st Conference of Thailand Print and Media Academic Forum 2014, 27 กันยายน 2557, ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ. หน้า77-80.
[ 8 ] พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง ปฏิภาณ โดดแช และ นันทัช ปิยะนิจดำรง, 2556, “การเปรียบเทียบคุณภาพทางการพิมพ์ ของหมึกพิมพ์ที่มีตัวทำละลายต่างชนิด” การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2556, 16-18 ตุลาคม 2556 พัทยา ชลบุรี, หน้า 186.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT