การพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับวัยรุ่นตอนปลาย
คำสำคัญ:
สื่อเสริมการเรียนรู้, กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, วัยรุ่นตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับวัยรุ่นตอนปลาย 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อเสริมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อเสริมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 34 คน เก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อเสริมการเรียนรู้ จำนวน 5 คลิปวิดีโอ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัยพบว่า สื่อเสริมการเรียนรู้ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 ค่าประสิทธิภาพของสื่อเสริมการเรียนรู้เท่ากับ 82.18/83.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อเสริมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65
References
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, 2562, ราชกิจจานุเบกษา.
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2559, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ปนัดดา ใจบุญลือ, กานต์ คุ้มภัย, ณัฐวุฒิ ทิพย์โกศลวงศ์, บุษรา มีบุญ และรัตติยาณี สีงามดี, 2564, การพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ดิจิทัลเรื่อง Reward ตามหลักการศึกษาบันเทิง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐานด้านการมีน้ำใจของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา, วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564, หน้า 261 – 272.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ, 2554, เทคนิคการผลิตบทเรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อการศึกษาทางไกลบนอินเทอร์เน็ต (E-Learning), กรุงเทพฯ: ศูนย์เสริมกรุงเทพ.
โกเมณ ดกโบราณ, 2560, การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ระบบสารสนเทศ สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรางคณา เวชพูล, อัศรินทร์ ทองขาว และศุวณี ทองสง, 2561, การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง หุ่นยนต์น่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
พระมหาถาวร อภิธมฺมสุธีภูษา, 2559, การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ตสำหรับบาลีไวยากรณ์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
อมีนา ฉายสุวรรณ, 2558, การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ, วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ปีที่10 ฉบับที่ 3, หน้า 43 – 51.
อัจฉราพรรณ ปานศิลา และพรรณราย เทียมทัน, 2564, การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1, หน้า 165 – 179.
กัลยา เก็มเบ็ญหมาด, คุณอานันท์ นิรมล และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์, 2559, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ผลกระทบและจริยธรรมความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศและงานอาชีพในรายวิชาคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7, วันที่ 23 มิถุนายน 2558, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หน้า 1126 – 1136.
ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์, 2558, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ, วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (5) มกราคม - มิถุนายน 2558, หน้า 38 – 50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT