การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้โปรแกรมตารางงาน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
คำสำคัญ:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การใช้โปรแกรมตารางงาน, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หาประสิทธิภาพของบทเรียน หาประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และหาความพึงพอใจของผู้ใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การใช้โปรแกรมตารางงาน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 34 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้โปรแกรมตารางงาน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.35 ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่ากับ 84.06 / 85.78 ค่าประสิทธิผลทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.35 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2545, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อนุชิต สอนสีดา และ วีระยุทธ จันลา, 2560, บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการศึกษา, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, 32, ธันวาคม 2560, หน้า 2-4.
ยุภาวดี พรมเสถียร, 2564, เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาการเรียนการสอน, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15, ธันวาคม 2564, หน้า 4 – 12.
DLR แหล่งเรียนรู้ดิจิทัล, 2563, การใช้งาน Microsoft Excel, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.digital.cmru.ac.th, เข้าดูเมื่อวันที่ 27/3/2566.
พิมพ์นารา เสาวนิตย์, 2562, รายงานผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนาคสโมสร (โบราณญาณบำรุง), โรงเรียนวัดนาคสโมสร(โบราณญาณบำรุง) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หน้า 4 - 34.
เอียน สมิธ และ อนงค์ วิเศษสุวรรณ์, 2550, การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18, มีนาคม 2550, หน้า 2 – 4.
อรรถพร ธนูเพ็ชร, 2558, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel 2010, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10, สิงหาคม 2558, หน้า 57 – 58.
ยุทธศาสตร์ ผิวเผือก และ วิมาน ใจดี, 2565, การพัฒนาบทเรียนอมพิวเตอร์ออนไลน์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 14, กรกฎาคม 2565, หน้า 1393 - 1395.
ศักดิ์คเรศ ประกอบผล, 2563, การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้แอดดี้โมเดลและแนวคิดของกาเย่, วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 14, มิถุนายน 2563, หน้า 3 – 8.
ดาวรถา วีระพันธ์, 2561, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8, ธันวาคม 2561, หน้า 42.
วิรีภรณ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์, 2560, ประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดโดยใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาพยาบาล, วารสารเกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 24, ธันวาคม 2560 , หน้า 139 – 141.
ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์, 2555, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริม รายวิชาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ, วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 3, มิถุนายน 2558, หน้า 8 – 10.
ไผท คงศรีลา, 2560, การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานภาษาซี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สทวท., 2, ธันวาคม 2560, หน้า 8 – 10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT