แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ วิทยาลัยผู้ประกอบการสร้างสรรค์นานาชาติรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ปภาภัทร แสงแก้ว วิทยาลัยการอาชีพหนองแค สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • ปรางทิพย์ เสยกระโทก วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหาร, สถาบันการอาชีวศึกษา, อาชีวศึกษา 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะ องค์ประกอบ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 15 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัว การพัฒนางานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และการพัฒนาบุคลากรและการปรับตัววิถีใหม่ จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 426 คน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทยมี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การสร้างบารมีและแรงบันดาลใจ (2) การคำนึงถึงปัจเจกบุคคลและทำงานเป็นทีม (3) การมีกลยุทธ์และแสวงหาโอกาสในการปรับตัว (4) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา (5) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก (6) การสร้างบรรยากาศและค่านิยมร่วมเชิงสร้างสรรค์ (7) การมีวุฒิภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (8) การปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระตุ้นทางปัญญา และ (9) การพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำที่ปรับตัวเชิงกลยุทธ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอาชีวศึกษาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย

References

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2562, มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, วิบูลย์ ผกามาศ, อาคีรา ราชเวียง, อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ และสำเริง อ่อนสัมพันธุ์, 2565, แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไป. วารสารบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทยรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2, หน้า 1-19.

Mukaram, A.T., Rathore, K., Khan, M.A., Danish, R.Q. and Zubair, S.S., 2021, Can adaptive–academic leadership duo make universities ready for change? Evidence from Higher Education Institutions in Pakistan in the Light of COVID-19. Management Research Review, 44(11), pp. 1478-1498.

ปภาภัทร แสงแก้ว, ปรางทิพย์ เสยกระโทก, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, 2564, องค์ประกอบการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1, 5(2), หน้า 75-89.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ปภาภัทร แสงแก้ว และปรางทิพย์ เสยกระโทก, 2565, ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้วิถีปกติใหม่ของประเทศไทย. เอกสารการประชุมวิชาการทางการศึกษา ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 16-17 มิถุนายน 2565. หน้า 726-744.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล และสมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์, 2564, ภาวะผู้นำทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารมืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. เอกสารการประชุมวิชาการสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. 25-26 มีนาคม 2564. หน้า 137-148.

Yıldırım, S., Bostancı, S.H., Yıldırım, D.Ç. and Erdoğan, F., 2021, Rethinking Mobility of International University Students during COVID-19 Pandemic. Higher Education Evaluation and Development, 15(2), pp. 98-113.

Fernandez, A.A. and Shaw, G.P., 2020, Academic Leadership in a Time of Crisis: The Coronavirus and COVID-19. Journal of Leadership Studies, 14(1), pp. 39-45.

Striteska, M.K. and Prokop, V., 2020, Dynamic Innovation Strategy Model in Practice of Innovation Leaders and Followers in CEE Countries—A Prerequisite for Building Innovative Ecosystems. Sustainability, 12(3918), pp. 1-12.

Karia, N. and Abu Hassan Asaari, M.H., 2019, Leadership Attributes and Their Impact on Work-Related Attitudes. International Journal of Productivity and Performance Management, 68(5), pp. 903-919.

Rehman, U.U. and Iqbal, A., 2020, Nexus of Knowledge-Oriented Leadership, Knowledge Management, Innovation and Organizational Performance in Higher Education. Business Process Management Journal, 26(6), pp. 1731-1758.

Miller, A.E., 2019, Leadership Theory Analysis: Adaptive Leadership. Teaching Course, Azusa Pacific University. pp. 1-21.

Bartsch, S., Weber, E., Büttgen, M. and Huber, A., 2021, Leadership Matters in Crisis-Induced Digital Transformation: How to Lead Service Employees Effectively During the COVID-19 Pandemic. Journal of Service Management, 32(1), pp. 71-85.

Fernandes, V., Wong, W. and Noonan, M., 2023, Developing Adaptability and Agility in Leadership Amidst the COVID-19 Crisis: Experiences of Early-career School Principals. International Journal of Educational Management, 37(2), pp. 483-506.

Aboramadan, M., Dahleez, K.A. and Farao, C., 2022, Inclusive Leadership and Extra-role Behaviors in Higher Education: Does organizational learning mediate the relationship?". International Journal of Educational Management, 36(4), pp. 397-418.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29