โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ : การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อปลูกฝังทักษะในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • วิศิษฎ์ศรี วิยะรัตน์ สาขานวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สริญญา เกิดไพบูลย์ โรงเรียนเพลินพัฒนา
  • คมกฤตย์ ชมสุวรรณ สาขาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พิเชษฐ์ พินิจ สาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล สาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เอกรัตน์ รวยรวย สาขาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สันติรัฐ นันสะอาง สาขาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มงคล นามลักษณ์ สาขาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์, ทักษะในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

ระบบการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อต้อนรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็น ให้แก่ผู้เรียนเพื่อประสบความสำเร็จในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริงทางสังคม และเศรษฐกิจ และผู้เรียนที่มีสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่ดีที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศและระบบสังคมโดยรวม งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษารูปแบบและประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ที่มีการนำร่องในวิทยาลัยในสังกัดของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีมหาวิทยาลัยในบริเวณใกล้เคียงเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการ หลักสูตรของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มีรายวิชาพื้นฐานเช่นเดียวกับสายสามัญ และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขางานช่าง รวมทั้งเกิดทักษะด้านการปฏิบัติงานอย่างเข้มข้นซึ่งอาศัยโครงงานที่หลอมรวมเนื้อหาสาระและทักษะปฏิบัติเข้าด้วยกัน และประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีความเชื่อมโยงกับปัญหาหรือสภาพความเป็นจริงในภาคประกอบการหรือภาคธุรกิจหลักของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าจุดเด่นของโครงการฯ คือ การนำโครงงานมาใช้เป็นแกนในการจัดการเรียนรู้ทั้งในส่วนของรายวิชาและการบูรณาการกับกิจกรรมขนานหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมสมรรถนะ แต่จุดอ่อนคือการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระ และทักษะเฉพาะบางทักษะเท่านั้น ทำให้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม สถานศึกษาควรเน้นเรื่องการบูรณาการการทำงานและการวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ

References

Partnership for 21st Century Skills., 2010, Framework definition. From http://www.p21.org/documents/ P21-Framework-Definitions.pdf.

Soule, H., 2014, The Power of the 4Cs: The Foundation for Creating a Gold Standard for Project Based Learning (PBL).http://bie.org/blog/the_power_of_the_4cs_the_foundation_for_creating_a_gold_standard_for_projec.

ปรีดี แสงวิรุณ, 2555, การพัฒนาการสอนแบบวิศวกรรมดิจิตอลโดยโครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างการคิด วิเคราะห์และการแก้ปัญหา, วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษาปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555, หน้า 53-60.

สุวัฒน์ นิยมไทย, 2554, การเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ : แนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษาปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2554, หน้า 57-64.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Savage, R.N., Chen K.C., and Vanasupa, L, 2007, Integrating Project-based Learning throughout the Undergraduate Engineering Curriculum. Institute for STEM Research, 1-18.

Maier, H.R., 2008, A Hybrid Just-In-Time/Project-Based Learning Approach to Engineering Education. Proceedings of the 2008 AaeE Conference 2008, Yeppoon.

Cen, G., Xu, B. and Lou, J.Y., 2010, Implementing Open-ended Project-based Instruction in Experiment of University Physics, Proceedings of the 2nd International Workshop on Education Technology and Computer Science 2010, IEEE Computer Society.

Triana, D., Anggraito, Y.U. and Ridlo, S., 2020, Effectiveness Environmental Change Learning Tools Based on STEM-PjBL Towards Students’ Collaboration and Communications Skills. Journal of Innovative Science Education, 9(2), 244–249.

Baihaqi, M., Sarwi, S. and Ellianawati, E., 2020, The Implementation of Project-Based Learning with Integrated Stem in Distance Learning to Improve Students’ Communication Skills. Educational Management, no. Query date: 2023-10-12, [Online]. Available: https://journal.unnes.ac.id/sju/index.php/ eduman/article/view/39982.

Widyasmah, M. and Herlina K., 2020, Implementation of STEM Approach Based on Project-based Learning to Improve Creative Thinking Skills of High School Students in Physics. Journal of Physics: Conference, no. Query date: 2023-10-12, [Online]. Available: https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742- 6596/1467/1/012072/meta.

Lestari, H. and Rahmawati, I., 2020, Integrated STEM through Project Based Learning and Guided Inquiry on Scientific Literacy Abilities in Terms of Self-Efficacy Levels. Al Ibtida: Jurnal Pendidikan Guru MI, no. Query date: 2023-10-12, [Online]. Available: http://www.syekhnurjati.ac.id/jurnal/index.php/ibtida/ article/view/5883.

Vorawut, B., Pachoen, K. and Worawat, S., 2011, A Learning and Teaching Model using Project-Based Learning (PBL) on the Web to Promote Cooperative Learning, European Journal of Social Sciences, 21(3), 498-506.

Anuwat, T., Kalayanee, J. and Weerachai, C, 2011, Empowering Students through Project-Based Learning: Perceptions of Instructors and Students in Vocational Education Institutes in Thailand, Journal of College Teaching & Learning, 8(12), 19-34.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี, 2557, กลยุทธ์แยบยลเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21, งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพผู้สอน ครั้งที่ 7, 15-17 ตุลาคม พ.ศ. 2557. อิมแพคเมืองทองธานี.

แม็คเอ็ดดูเคชั่น, บริษัท จำกัด, 2557, ครูแห่งศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ : บริษัทแม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30