การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากฐานทรัพยากรชุมชนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ปณัตดา ยอดแสง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี)
  • สมพงษ์ เผือกเอี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี)

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์, เส้นโค้งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, พื้นที่ปลอดภัย, เยาวชนชายขอบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ในด้านกระบวนการคิดและการสื่อสารของเยาวชนชายขอบ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่    2 - 6 จำนวน 60 คน ของโรงเรียนในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี  โดยนำหลักการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เส้นโค้งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทักษะการเรียนรู้และการใช้พหุประสาทสัมผัส มาเป็นแกนหลักในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกับขั้นตอนในการถ่ายทอดสู่เยาวชน 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างเยาวชนให้มีความสามารถในการเรียนรู้และมีพื้นที่ปลอดภัยโดยการพี่เลี้ยงเป็นต้นแบบ ขั้นที่ 2 พัฒนาความรู้และทักษะการคิดพื้นฐาน การจดบันทึก การฟัง และการตั้งคำถาม และ     ขั้นที่ 3 ใช้ความรู้และทักษะในบริบทจริงและถ่ายทอดให้กับผู้อื่น และใช้ทรัพยากรที่มีในโรงเรียนหรือในชุมชนมาเป็นสื่อใน การเรียนการสอน ออกแบบให้กิจกรรมมีความต่อเนื่อง และมีระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสม ประเมินผลการออกแบบและผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยการทำสนทนากลุ่ม การสังเกต และการจดบันทึก กับครูและเยาวชน พบว่าการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการข้างต้น ช่วยให้เยาวชนมีความรู้และประสบการณ์การเรียนในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดความใส่ใจและเห็นประโยชน์ของการเรียนมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านการคิด ด้านการเรียนรู้และการใช้ชีวิต มากขึ้น การสื่อสาร ตลอดจนสามารถทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายในได้อย่างแท้จริง

References

ผู้จัดการออนไลน์, 2565, กสศ.พร้อมกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ระบุ ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลปิดเทอมใหญ่นี้จะวิกฤต เป็น 2 เดือนอันตราย, แหล่งที่มา https://mgronline.com/qol/detail/9650000026070, เข้าดูเมื่อวันที่ 20/12/2566.

Svein S., 2007, Constructivism and learning, University of Oslo, Norway Invited contribution to Baker, E.; McGaw, B. & Peterson P (Eds) International Encyclopaedia of Education 3rd Edition, Oxford: Elsevier

David A. Kolb., 1984, Experiential Learning. New Jersey: A Simon & Schuster Company.

Gibbs, G., 1988, Learning by Doing. A Guide to Teaching and Learning Methods. Oxford Brooks University.Oxford. UK. ePub.

มติชนสุดสัปดาห์, 2565, เดินหน้า"สวนผึ้งโมเดล" รับมือเด็กหลุดจากระบบการศึกษา หลังเผชิญวิกฤตโควิด, แหล่งที่มา https://www.matichonweekly.com/publicize/article_530848, เข้าดูเมื่อวันที่ 20/12/2566.

บัณฑิต ทิพากร, 2560, การศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome Based Education), แหล่งที่มาhttps://www.c4ed.kmutt.ac.th/copy-of-my2satangstqf-1, เข้าดูเมื่อวันที่ 20/12/2566

ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง และน้ำผึ้ง อินทะเนตร, 2564, หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา, Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, หน้า 279-291

วิจารณ์ พานิช, 2558, เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด

Mezirow, J., 1991, Transformative dimensions of adult learning. San Francisco, Josey-Bass.

Mezirow, J., 2003, Transformative learning as discourse. Journal of Transformative Education,1, 58-63.

นัยนา ดอรมาน, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, 2563, การเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการสะท้อนคิดเชิงวิพากษ์, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 10. หน้า 20-28.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, เทวธิดา ขันคามโภชก์, ยศวีร์ อิ่มอโนทัย และ โสภา อ่อนโอภาส, 2564, การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์: พื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปีที่ 12, ฉบับที่ 1, หน้า 89-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30