การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจากการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน ของนักศึกษาภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้แต่ง

  • พลศักดิ์ เลิศหิรัญปัญญา สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน, ความต้องการ, สภาพปัญหา, อุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันตลาดแรงงานนั้นมีความต้องการบุคคลที่มีความสามารถทั้งในด้านความรู้ และทักษะ รวมถึงสามารถที่จะทำงานได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ หลักสูตรจึงควรมีการเตรียมพร้อมและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสภาพความเป็นจริงของการดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลจากการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานของนักศึกษา งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของนักศึกษาจากการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน ของนักศึกษาภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยทำการศึกษาจากกลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาที่ฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีการศึกษา 2565  จำนวน 61 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลระดับสภาพปัญหาและความต้องการ ผลจากการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของนักศึกษาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ในประเด็นความรู้ความเข้าใจในงานประจำที่ตนเองรับผิดชอบ โดยมีระดับปัญหาในระดับปานกลาง (μ= 2.85, σ =1.16) และความต้องการของนักศึกษาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านความต้องการด้านบุคคล ในประเด็นให้พี่เลี้ยงเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีระดับความต้องการในระดับมาก (μ= 3.55, σ =1.25) ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป

References

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2561) รายงานความต้องการแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561-2570). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ปุญญวิชญ์ เศรษฐ์สมบูรณ์, จิรวัฒน์ ภู่งาม, อวิกา พุทธานุภาพ และ วริทธิ์นันท์ ชุมประเสริฐ (2564). นัยของการพัฒนาทักษะแรงงานต่อความเหลื่อมล้ำของค่าจ้าง: มุมมองจากตลาดแรงงานภูมิภาค. FAQ (Focused and Quick). หน้า 1-15.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (2565). URL: http://www.dede.go.th, accessed on 24/04/2010.

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (2565). หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง 2565. หน้า 13.

สยาม ค้าสุวรรณ, อรุณี หงส์ศิริวัฒน์ และ พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ (2564). สภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการทางการเรียนรู้กับการทำงานของผู้เรียนและบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย, วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 49 (ฉบับที่ 3), กรกฎาคม-กันยายน 2564, หน้า 1-12.

ปานทิพย์ เรืองอร่าม (2551). ปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตไกลกังวล. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ณัฐชา ธารงโชติ, พีรญา เชตุพงษ์, เจิมสิริ ศิริวงศ์พากร และศุภศิษฎ์ เร่งมีศรีสุข (2555). ปัญหาและ อุปสรรคในการรับนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาตามแนวความคิดของสถานประกอบการ กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

กระทรวงแรงงาน, 2559, กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 91 ก, หน้า 49.

Alison Blackwell, Lindsey Bowes, Lee Harvey, Anthony J. Hesketh, and Peter T. Knight., 2001, Transforming Work Experience in Higher Education, Vol. 27(13), June 2001, pp. 269 – 285.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31