การถอดบทเรียนการเรียนการสอนตามแนวคิดศาสตร์พระราชาจากปราชญ์ชาวบ้านสู่กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อชิระ อุตมาน ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การถอดบทการเรียนการสอนตามแนวคิดศาสตร์ปราชพระราชาจากปราชญ์ชาวบ้าน

บทคัดย่อ

การถอดบทเรียนการเรียนการสอนตามแนวคิดศาสตร์พระราชาจากปราชญ์ชาวบ้านสู่กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อถอดบทเรียนด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่สำคัญตามแนวคิดศาสตร์พระราชาจากปราชญ์ชาวบ้านที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดศาสตร์พระราชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จากปราชญ์ชาวบ้านที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 4 คน โดยการคัดเลือกจากปราชญ์ชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จที่ได้นำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการพัฒนาโครงการต่าง ๆ

          ผลการวิจัย 1) การถอดบทเรียนด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่สำคัญตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ได้ผลดังนี้  1.1) การทำงานร่วมกันผ่านการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันจนเกิดเป็นสมรรถนะที่สำคัญที่มีประโยชน์ต่อการทำงานและการดำเนินชีวิต1.2) การแสดงตนด้วยการประพฤติและปฏิบัติ อย่างมีจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา อย่างเหมาะสม พร้อมด้วยการมีจิตอาสา เห็นประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 1.3) การแสวงหาความรู้ ด้วยการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอยู่เสมอเพื่อสะสมประสบการณ์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่ออธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และสังคม และ 1.4) การเป็นโลกที่ดีเคารพบรรทัดฐานทางสังคมที่กำหนดขึ้น เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น เข้าใจถึงความแตกต่าง โดยไม่ก่อปัญหาและความขัดแย้งด้วยใช้หลักธรรมที่ตนเองนับถือเพื่อการประพฤติและปฏิบัติตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดศาสตร์พระราชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จากปราชญ์ชาวบ้านที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น โดยการสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียนแบบประชาธิปไตยให้ผู้เรียนโต้แย้งกันด้วยเหตุผลและตามหลักการ เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการในการแสวงหาความรู้โดยผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ และจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ให้คำปรึกษา ชี้แนะการทำงานของผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการรู้จักคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติอย่างรอบคอบ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รู้จักบทบาทหน้าที่ หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและส่วนรวมผ่านการเสริมแรงทางบวกแก่ผู้เรียนด้วยการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักธรรมแต่ละศาสนา ที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการดำเนินงานและการดำเนินชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดจนผู้สอนแสดงการประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม และมีความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน

Author Biography

อชิระ อุตมาน, ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์มหาวิทยาลัย

References

คำพันธ์ เหล่าวงษี. (2559). ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2559.

สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://www.moac.go.th/philosopher-philosopher-

preview-382991791792.

โชคดี ปรโลกานนท์. (2556). ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง.

สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://www.moac.go.th/philosopher-

เดลินิวส์. (2562). สุดยอดปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำศาสตร์พระราชาพัฒนาอีสาน.

สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://www.dailynews.co.th/article/746295.

philosopher-files-391491791796.

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. (2564). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565,

จาก https://web.parliament.go.th/view/7/nationalassembly/TH-TH

สงวน มงคลศรีพันเลิศ. (2565). สงวน มงคลศรีพันเลิศ สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง.

สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก http://www.chumphon.doae.go.th.

สมศักดิ์ เครือวัลย์. (2558). ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558.

สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://www.moac.go.th/philosopher-philosopher-

preview-382991791795

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ และคนอื่น ๆ. (2561, มีนาคม). บทบาทของปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการ

ตนเองของชุมชน. วารสารเกษมบัณฑิต. 19(พิเศษ). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565,

จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/110059/90159

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31