การพัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทาง ของหลักสูตรรายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

วรพล สมานันตกุล
ไพโรจน์ สถิรยากร
พิสิฐ เมธาภัทร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทาง และ          2) ติดตามและประเมินผลรูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทาง ของหลักสูตรรายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างในการนำหลักสูตรฝึกอบรมรูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทางของหลักสูตรรายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงไปใช้ ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่สอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในภูมิภาคภาคกลาง จำนวน 17 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนแบบห้องเรียนกลับทางที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม E1/ E2 ผลวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทาง ของหลักสูตรรายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การเตรียมสอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์รายวิชา 2) จัดทำโครงการ และ 3) วิเคราะห์ หัวข้อเรื่อง/งาน ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์การเรียน ประกอบด้วย 1) การเรียนด้วยตนเอง และ 2) การเรียนในห้องเรียน ส่วนที่ 3 แผนการจัดการเรียนด้วยรูปแบบห้องเรียนกลับทาง โดยผลประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 2) รูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทางที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.84/85.85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมรูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทาง ของหลักสูตรรายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สมานันตกุล ว., สถิรยากร ไ., & เมธาภัทร พ. (2024). การพัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนแบบห้องเรียนกลับทาง ของหลักสูตรรายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(6), 1–12. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/274180
บท
บทความวิจัย

References

ณพสร สวัสดิบุญญา. (2553). รูปแบบการฝึกอบรมหัวหน้า แผนกวิชาเพื่อพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณรงค์กร ชัยวงศ์. (2563). การศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของ คณะพยาบาลศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและ การดูแลสุขภาพ, 38(2), 73-82.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรปูแบบและทฤษฎีการเรียนรู้อนาคต. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/next-generation%20of%20learning.pdf

ทัศนีย์ ภาแก้ว. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การศึกษารายกรณีนักเรียนในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอำนาจเจริญ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ยุพาศรี ไพรวรรณ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนกิจกรรมแนะแนว. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). สารสนเทศสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 จาก https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/145a3f16-912e-4027-be5b-c713803b75f0/page/aVDeD

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้. (2562). โหล: 12 ปี ทีเคพาร์ค สารพันเรื่องราว หลากหลายความคิด ว่าด้วยการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ และนวัตกรรมห้องสมุด. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2566 จาก https://okmd-elib.belib.app/ebook/61786a59242cb/

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2558). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 และที่ปรับปรุงแก้ไข และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: แผนกวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2563). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น พุทธศักราช 2563. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สุรเชษฐ์ จันทร์งาม และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2561). รูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านผสาน ด้วยความจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิด เชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 229-240.

อารยา ปู่เกตุแก้ว. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียน แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1970). Likert technique for attitude measurement. Archives of Psychology. Social Psychology, 140(5), 1-55.