การพัฒนาแพลตฟอร์มและสื่อออนไลน์ 3 ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

กนกอร โฉมเฉลา
ขวัญวิมาน อาจโยธา
จารุวรรณ บุญมี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิในจังหวัดสมุทรสาครในรูปแบบสื่อออนไลน์ 3 ภาษา 2) พัฒนาแพลตฟอร์มทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าฯ 3) สร้างสื่อออนไลน์ 3 ภาษา ในการพัฒนาทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าฯ และ 4) ประเมินทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอบ้านแพ้ว และ อำเภอกระทุ่มแบน ชาวไทยและชาวเมียนมา จำนวน 1,000 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตทักษะการทำงาน แบบสอบถามความต้องการทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานฯ แบบสัมภาษณ์ความต้องการทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานฯ แพลตฟอร์มทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานฯ แบบสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้งานของแพลตฟอร์มทักษะการทำงานฯ และแบบประเมินทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าฯ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจสถิติในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาความต้องการทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าฯ จากผู้ปฏิบัติงาน ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน ทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นเพื่อพัฒนาทักษะผู้ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง แบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ คือ 1) ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิอาหารทะเล และความปลอดภัยสำหรับการจัดเก็บสินค้าอาหารทะเล 2) การพัฒนาทักษะรับ การจัดเรียง การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ 3) การพัฒนาทักษะการหยิบ การจ่าย การขนถ่ายสินค้าในคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ 4) การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารในคลังสินค้าควบคุม และ 5) ทักษะการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

Article Details

How to Cite
โฉมเฉลา ก., อาจโยธา ข., & บุญมี จ. (2025). การพัฒนาแพลตฟอร์มและสื่อออนไลน์ 3 ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 9(3), 309–321. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/281789
บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2566). ข้อมูลโรงงาน. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://www.diw.go.th/webdiw/s-data-fac/

ขวัญวิมาน หวานดี และคณะ . (2565). การศึกษารูปแบบสื่อการสอนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานด้านโลจิสติกส์ในคลังสินค้าสำหรับบุคลากรระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(5), 332-342.

ปวีณา เครือจันต๊ะ และกิตติยา ปลอดแก้ว. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานโดยการเรียนรู้แบบร่วมกันเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 7(2), 318-330.

พิจิตรา ธงพานิช. (2561). รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model). เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2567 จาก http://adi2learn.blogspot.com/2018/01/addie-model.html

พิทยา คงอิ้ว. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเดวีส์ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าเพื่อการเกษตรของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาเกษตรศาสตร์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (ภาคใต้). ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาณุมาศ เนียมพลับ. (2561). สมรรถนะของเจ้าหน้าที่จัดการคลังสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศักดา การเพียร. (2562). การใช้สื่อการสอนของครูปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2023). มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001). เรียกใช้เมื่อ 6 เมษายน 2566 จาก https://www.masci.or.th/service/cert-iso9001/

สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2566). สถานการณ์แรงงาน จังหวัดสมุทรสาคร รายปี 2565 (มกราคม - ธันวาคม). เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://samutsakhon.mol.go.th/wpcontent/uploads/sites/52/2023/02/pdf24_merged_compressed.pdf

เอกพงศ์ แสงศรี. (2562). การสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการสอนชุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษเครื่องมือช่างเบื้องต้นระดับชั้น ปวช ด้วยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Sakkir, G. et al. (2021). Need analysis for developing writing skill materials using Facebook for English undergraduate students. International Journal of Language Education, 5(1), 542-551.

Syafiq, A. N. et al. (2021). Increasing speaking skill through YouTube video as English learning material during online learning in pandemic Covid-19. Elsya: Journal of English Language Studies, 3(1), 50-55.