การพัฒนาเกมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครือข่ายสถานศึกษาบ้านพรุพะตง

Main Article Content

ภานุวัฒน์ แสงทอง
พล เหลืองรังษี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกมเสริมหลักสูตร เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครือข่ายสถานศึกษาบ้านพรุพะตง ตามเกณฑ์ 80/80 2) พัฒนาคู่มือเกมเสริมหลักสูตร เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครือข่ายสถานศึกษาบ้านพรุพะตง และ             3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่ใช้เกมเสริมหลักสูตรและไม่ใช้เกมเสริมหลักสูตร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครือข่ายสถานศึกษาบ้านพรุพะตง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครือข่ายสถานศึกษาบ้านพรุพะตง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโปะหมอ (พรหมเทพราษฎร์บำรุง) โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบจับสลาก ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกม Code Math คู่มือเกมเสริมหลักสูตร เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมเสริมหลักสูตรเป็นเกมการเข้ารหัส ถอดรหัสข้อความ ใช้ความรู้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการบวก ลบ ระดับการคูณ หาร และระดับการบวก ลบ คูณ หาร มีค่าประสิทธิภาพของเกมเสริมหลักสูตร เท่ากับ 81.17/81.33 2) คู่มือเกมเสริมหลักสูตร ประกอบด้วย วิธีการใช้ จุดประสงค์การเรียนรู้ คำชี้แจง แบบฝึกระหว่างเรียน - หลังเรียน และแบบฝึกหัดทบทวน และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้เกมเสริมหลักสูตรสูงกว่านักเรียนที่ไม่ใช้เกมเสริมหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
แสงทอง ภ., & เหลืองรังษี พ. (2024). การพัฒนาเกมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครือข่ายสถานศึกษาบ้านพรุพะตง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(3), 110–119. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/271580
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย. (2564). การศึกษาโลกในศตวรรษที่ 21: ระบบยังเหลื่อมล้ำ การเรียนรู้ยังวิกฤต. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://www.eef.or.th/global-education/

จักรเพชร สุริระกมล. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบบูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อการรู้เท่าทันและพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิมวุฒิ คำเมือง. (2566). คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 Mathematics in the 21st Century. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://math.bru.ac.th/คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่-21-mathema/

ชมพูนุษ์ บุญทศ. (2562). การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี .

ชูศักดิ์ วรุณกูล. (2538). กิจกรรมเสริมหลักสูตร. เชียงใหม่: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ - สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

พล เหลืองรังษี. (2564). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหาคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

พิมพ์ชนก ค้ำชู. (2555). การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ เพื่อพัฒนาทักษะในรายวิชาดนตรี - นาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ลดาวัลย์ แย้มครวญ และศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล. (2560). การออกแบบและพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้สาหรับวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิชัย พาณิชย์สวย. (2560). หัวใจของการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://www.pecerathailand.org/2017/03/2009.html

วิโรจน์ เฉลยสุข. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (NT). เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2567 จาก http://180.180.244.42/NT/ExamWeb/FrLogin. aspx?ReturnUrl=%2fNT

สินชัย จันทร์เสม และเอมมิกา วชิระวินท์. (2564). การใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์แบบเชื่อมโยงบริบทเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 16(1), 108-109.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

เอกพรต สมุทธานนท์. (2556). การเขียนคู่มือครู GotoKnow. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2567 จาก https://www. gotoknow.org/posts/235436

McNeal, R. B. (2010). High School Extracurricular Activities: Closed Structures and Stratifying Patterns of Participation. The Journal of Educational Research, 91(3), 183-191.