การพัฒนาบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมุสลิมวิทยามูลนิธิ

Main Article Content

อรุณ วายุภักดิ์
พล เหลืองรังษี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) หาค่าประสิทธิภาพสื่อของบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามเกณฑ์ประสิทธิภาพสื่อ 80/80 3) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา หลังเรียนด้วยบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมุสลิมวิทยามูลนิธิ จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพสื่อ E1/E2 แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย หน้าหลัก หน้าสมัครสมาชิก หน้าเข้าสู่ระบบ หน้าต้อนรับผู้เรียน หน้าลงทะเบียนเรียน หน้าบทเรียน หน้าเกียรติบัตร และหน้าผู้จัดทำบทเรียน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมและความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด 2) บทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.56/80.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 3) นักเรียนที่ใช้บทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38)

Article Details

How to Cite
วายุภักดิ์ อ., & เหลืองรังษี พ. (2024). การพัฒนาบทเรียนความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมุสลิมวิทยามูลนิธิ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(5), 197–208. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/273706
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 - 2565. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566 จาก https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2542). เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชนนิกา ปัญจันทร์สิงห์. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเออาร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาวิชวลเบสิก สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไชยยัณห์ ชาญปรีชารัตน์. (2543). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีผลต่อการวัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งศักดิ์ เยื่อใย. (2562). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม: ความท้าทายต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 25(2), 127-140.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 - 2570. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566 จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/02/ร่างแผน13.pdf

อธิษฐ์ เชิญขวัญชัย. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัครเทพ อัคคีเดช. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง เครื่องดนตรีสากลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.