เหรียญบอกบุญ: แนวทางการส่งเสริมอาชีพการทำเหรียญโปรยทาน แบบสวยงาม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านห้วยดินดาน หมู่ที่ 12 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วรรณฤดี โฉมทอง
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
ชวนะ ทองนุ่น

บทคัดย่อ

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอาชีพการทำเหรียญโปรยทานแบบสวยงาม กรณีศึกษา บ้านห้วยดินดาน หมู่ที่ 12 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอาชีพการทำเหรียญโปรยทานแบบสวยงาม กรณีศึกษา  บ้านห้วยดินดาน หมู่ที่ 12 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาชีพการทำเหรียญโปรยทานแบบสวยงาม กรณีศึกษา บ้านห้วยดินดาน หมู่ที่ 12 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำเหรียญโปรยทาน และผู้ส่งเสริมทำเหรียญโปรยทาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำเหรียญโปรยทาน และ 2) ผู้ส่งเสริมเหรียญโปรยทาน จำนวนทั้งหมด 15 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องเหรียญโปรยทาน และผู้ส่งเสริมเหรียญโปรยทาน มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวมผลการวิจัยพบว่า 1) อาชีพการทำเหรียญโปรยทานแบบสวยงาม มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ 1.2) การพับ และการวางเหรียญ 1.3) การขึ้นรูปของเหรียญโปรยทาน และ 1.4) การตัดแต่งและรูปแบบเหรียญโปรยทาน 2) สภาพปัญหาอาชีพการทำเหรียญโปรยทานแบบสวยงาม มี 2 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านความชำนาญในการพับเหรียญโปรยทาน และ 2.2) ด้านการส่งเสริมด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ 3) แนวทางการส่งเสริมอาชีพการทำเหรียญโปรยทานแบบสวยงาม มี 2 ด้าน ได้แก่ 3.1) ด้านความชำนาญในการพับเหรียญโปรยทาน และ 3.2) ด้านการส่งเสริมด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์

Article Details

How to Cite
โฉมทอง ว., ดำรงวัฒนะ จ. ., แขน้ำแก้ว เ. ., เดโชชัย อ. ., & ทองนุ่น ช. . (2020). เหรียญบอกบุญ: แนวทางการส่งเสริมอาชีพการทำเหรียญโปรยทาน แบบสวยงาม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านห้วยดินดาน หมู่ที่ 12 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 4(1), 35–45. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/240156
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐอรียา สุขสุวรรณพร. (2553). การสร้างอาชีพเสริมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขต เทศบาลตําบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงพร สุวรรณกุล. (2558). ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา. เรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2562 จาก https://blogspot.com

ภาควัต ศรีสุรพล. (2560). แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งในตําบลนาชุมแสง อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 85-98.

วิภาวี กฤษณะภูติ. (2556). การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: การเรียนรู้จากกลุ่มอาชีพทอผ้าฝ้ายใน จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 30(1), 162-188.

สุชานาถ พัฒนวงศ์งาม. (2554). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มทองเหลืองสาน อําเภอเมืองจังหวดฉะเชิงเทรา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

อัมพร เอียดวงศ์. (2560). การพัฒนาชุดฝึก เรื่องการประดิษฐ์เหรียญโปรยทานจากใบลานเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน รายงานวิจัย ครูชำนาญการพิเศษ. โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.