โรงเรียนวัวชนและภูมิปัญญาการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า กรณีศึกษา สนามกีฬาชนโคบ้านปากพล ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

ทิพวรรณ หม้งห้อง
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

           บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาในการเลี้ยงวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า 2) ศึกษาวิธีการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นตัวแทนผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับค่ายกีฬาวัวชน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เจ้าของสนามกีฬา 2) กรรมการค่ายกีฬา และ 3) สมาชิกค่ายกีฬา จำนวน 14 คน โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาในการเลี้ยงวัวชน มี 3 ด้าน คือ 1.1) โครงสร้างร่างกาย คัดเลือกวัวชนที่มีร่างกายแข็งแรง บึกบึน เขาสวย และกีบเล็บกลม   1.2) เชื้อสายวัวชน พ่อแม่มีเชื้อสายวัวชนแท้ ๆ ประวัติชนดี และครบตามตำรา และ 1.3) กระบวนการฝึกฝน การออกกำลังกาย การกินหญ้า และการฝึกซ้อมวัวชน 2) วิธีการจัดการค่ายวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า คือ ค่ายกีฬาวัวชนมีความพร้อม ปลอดภัย มีกฎกติกา และที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่การเริ่มเปรียบวัวจนถึงเสร็จสิ้นการชน โดยนายสนามเป็นผู้ควบคุม 3) แนวทางส่งเสริมการจัดการค่ายกีฬาวัวชน มี 4 ด้าน ได้แก่ 3.1) กฎหมาย นักกีฬาวัวชนต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางสนามอย่างเคร่งครัด 3.2) การท่องเที่ยว มีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ค่ายกีฬา และแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง 3.3) การรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์พัฒนากีฬาวัวชน การจัดตั้งเป็นชมรมกลุ่มอนุรักษ์วัวพื้นเมือง และตั้งเป็นค่าย และ 3.4) ข้อมูลทางวิชาการ ภาครัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงวัวพื้นบ้านมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านเกษตร

Article Details

How to Cite
หม้งห้อง ท. ., ดำรงวัฒนะ จ. ., เดโชชัย อ. ., & แขน้ำแก้ว เ. . (2020). โรงเรียนวัวชนและภูมิปัญญาการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า กรณีศึกษา สนามกีฬาชนโคบ้านปากพล ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 3(1), 54–67. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/240180
บท
บทความวิจัย

References

กรรมการทำหน้าที่ดูค่ายกีฬา. (14 กันยายน 2563). โรงเรียนวัวชนและภูมิปัญญาการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า กรณีศึกษา สนามกีฬาชนโคบ้านปากพล ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. (ทิพวรรณ หม้งห้อง, ผู้สัมภาษณ์)

ชมนาด ศีติสาร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวัว บนเกาะโทะกุโนะฌิมะ. jsn Journal, 1(1), 21-41.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ไพศาล ริ้วธงชัย และคณะ. (2548). การศึกษาแนวทางการเลี้ยงวัวด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนบ้านนาเปอะ ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2561). การเมืองของการพนันวัวชนภาคใต้. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี, 3(3), 241-266.

วิเชียร ณ นคร. (2545). มรดกวัฒนธรรมทักษิณ. นครศรีธรรมราช: สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศศิธร บุญคงแก้ว และสิทธิพร ศรีผ่อง. (2561). การปรับตัวของกีฬาวัวชนเพื่อการท่องเที่ยว. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2552). วัวชนคนปักษ์ใต้. วารสารทักษิณ, 1(2), 68-81.

สุพิชฌาย์ รัตนะ. (2547). ยกระดับ "ชนวัว" กีฬาพื้นบ้าน เพื่อการท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2560 จาก http://www.nationtv.tv/main/content/378414282/

อาคม เดชทองคำ. (2543). หัวเชือกวัวชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.