การเพิ่มศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในการใช้หลักอานาปานสติ ของนักศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษานักศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

Main Article Content

จิรวัฒนา พุ่มด้วง
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล .
สิทธิโชค ปาณะศรี
ประเวศ อินทองปาน

บทคัดย่อ

           บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักคำสอนอานาปานาสติตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาปัญหาที่มีผลกระทบต่อศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ และ 3) วิเคราะห์ศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้หลังใช้หลักอานาปานสติของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหาร 2) กลุ่มครูผู้สอน และ 3) กลุ่มนักศึกษา จำนวนทั้งหมด 15 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องอานาปานสติและมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ มีประสบการณ์ 3 ปีขึ้นไป โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักอานาปานสติตามแนวพุทธ คือ วิธีพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญาด้วยการใช้ลมหายใจ เป็นการกำหนด หรือการเจริญสติโดยนำความจริงของธรรมชาติมาใคร่ครวญพิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจเข้าแลออก 2) ปัญหาที่มีผลกระทบต่อศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ ได้แก่ 2.1) ด้านการเรียน 2.2) ด้านพฤติกรรม และ 2.3) ด้านจิตใจ 3) ศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้หลังใช้หลักอานาปานสติของนักศึกษา 4 ประการ ได้แก่ 3.1) การพัฒนากาย 3.2) การพัฒนาพฤติกรรม 3.3) การพัฒนาจิต และ 3.4) การพัฒนาปัญญา ซึ่งเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และการพัฒนาความฉลาดทางปัญญา (เชาวน์ปัญญา) จากการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติช่วยให้นักศึกษามีการสติในการพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนขึ้น และช่วยให้จดจำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

Article Details

How to Cite
พุ่มด้วง จ. ., . พ., ปาณะศรี ส., & อินทองปาน ป. . (2020). การเพิ่มศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในการใช้หลักอานาปานสติ ของนักศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษานักศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 3(2), 41–53. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/240184
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

กลุ่มครูผู้สอน. (19 ตุลาคม 2563). การเพิ่มศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในการใช้หลักอานาปานสติของนักศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษานักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ. (จิรวัฒนา พุ่มด้วง, ผู้สัมภาษณ์)

กลุ่มนักเรียน. (19 ตุลาคม 2563). การเพิ่มศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในการใช้หลักอานาปานสติของนักศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษานักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ. (จิรวัฒนา พุ่มด้วง, ผู้สัมภาษณ์)

ชำนาญ ด่านคำ. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 10(1), 23-30.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

พระครูสิริปัญญาภรณ์ (สุธีร์วิสุทฺโธ/ตันโห). (2558). รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สําหรับเด็กนักเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จํากัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีกุลภรณ์ แก้ววิลัย. (2560). การปรับพฤติกรรมของสตรีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(1), 90-104.

ยัง กุนอก. (2560). การใช้อานาปานสติภาวนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี. ใน การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการผสมผสานวัฒนธรรมไทยก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. มหาวิทยาลัยราชธานี.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.