การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมศัพท์สังคีตและเทคนิคการบรรเลงดนตรีไทย

Main Article Content

ปาหนัน กฤษณรมย์
ศรัทธา จันทมณีโชติ
คฑาวุธ พรหมลิ
ไกรศิลป์ โสดานิล
รัตติกาล แสงไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้คำศัพท์ดนตรีไทยเชิงวิชาการด้วยเทคโนโลยี อย่างเป็นระบบ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านแอพพลิเคชั่น 3 ประเภทได้แก่ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสายและการขับร้อง 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ดนตรีไทยจากการดำเนินโครงการวิจัยด้วยสื่อการเรียนรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงทดลองจากข้อมูลเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และแบบทดสอบการใช้งานจากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ศัพท์สังคีตดนตรีไทย พบว่า 1) รวบรวมองค์ความรู้คำศัพท์ข้อมูลเครื่องดนตรี 3 ประเภท ได้แก่ 1.1) วงปี่พาทย์ 15 เครื่อง ได้ 418 ศัพท์ 1.2) วงเครื่องสาย 8 เครื่อง ได้ 244 ศัพท์ 1.3) การขับร้องเพลงไทย 1 เครื่อง ได้ 87 ศัพท์ รวม 24 เครื่องดนตรี ได้ศัพท์สังคีต 749 คำ จัดเก็บข้อมูลระบบคลาวด์และเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยการรับลิงค์หรือสแกนคิวอาร์โค้ด 2) พัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบวีดีโออัปโหลดบนเว็บไซต์ยูทูป แบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ 2.1) ประเภทปี่พาทย์ 418 คำ 386 คลิป 2.2) ประเภทเครื่องสาย 244 คำ 236 คลิป 2.3) ประเภทการขับร้อง 87 คำ 73 คลิป รวม 749 คำ 695 คลิป จัดเก็บข้อมูลระบบคลาวด์ 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยแอพพลิเคชั่น ผลการประเมิน พบว่า 3.1) ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิควิธีการเกี่ยวกับการพัฒนาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ค่าเฉลี่ย 4.00 อยู่ในระดับมาก และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 3.2) ความพึงพอใจโดยภาพรวมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.08 อยู่ในระดับมากและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 3.3) ความพึงพอใจโดยภาพรวมจากผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.39 อยู่ในระดับมากและค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.08

Article Details

How to Cite
กฤษณรมย์ ป. ., จันทมณีโชติ ศ. ., พรหมลิ ค. ., โสดานิล ไ. ., & แสงไทย ร. . (2022). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมศัพท์สังคีตและเทคนิคการบรรเลงดนตรีไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 6(2), 17–31. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/260108
บท
บทความวิจัย

References

Boonplien, P. (2019). Guidelines for solo Khong Wong Yai, Plaeng Pae, Sam chon. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 9(1), 271-279.

Chaiphakdee, C. (2019). The process of conveying the xylophone performance of Kru Paitoon Channat. Journal of the Humanities and Social Sciences. Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(2), 16-28.

Inthasunanon, K. (2009). A study of the wisdom of vioce seapa and vioce Thai for raising awareness of preserving and appreciating cultural heritage. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Khamfoi, P. (2011). Development of a recording system for Thai traditional music to international standards. Parichart Journal, Thaksin University, 24(2), 111-122.

Khomfoi, P. (2016). Designing and creating Thai musical notation characters for Microsoft operations Office. In The 26th Thaksin University National Academic

Conference 26-29 May 2016 (443-449) Buri Sriphu Boutique Hotel, Hat Yai District, Songkhla Province. Thaksin University.

Phanpong, P. (2014). A solo analysis of ground noi sum chon by Ajarn Siwasit Nilsuwan. In Bachelor's Degree Program in Liberal Arts. Faculty of Humanities Kasetsart University.

Phanron, A. (2014). The solo technique of gong mon wong yai, song krao in the way of Wong gong teachers. Journal of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, 1(1), 40-48.

Pintukanok, C. (2013). Copfinder: an application for searching police stations and emergency numbers. Bangkok. In degree Thesis, Master of Science Program Faculty of Information. Technology Dhurakij Pundit University.

Ruenglan, K. (2020). The development of exercises for solo performance of Lao Pan Dulcimer. In degree Master of Arts thesis (Music Education) Graduate School. University.

Utchariyaprasit, K. (2018). A STUDY OF TRANSMISSION PROCESSES OF JAKHAYPERFORMANCE BY RATEE WISETSURAKARN. Online Journal of Education OJED, 13(2), 68-79.