รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในเขตภาคเหนือ ของประเทศไทย

Main Article Content

วิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์
หัสพร ทองแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนและชุมชน รวมทั้งความร่วมมือของผู้ประกอบการกับชุมชน และ      2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสารของผู้ประกอบการกับชุมชนที่ส่งผลต่อความร่วมมือในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า จำนวน 406 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนและชุมชน และผู้ประกอบการกับชุมชนเป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้าทั้งแบบทางเดียวและสองทางผ่านเวทีสัมมนา โดยเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวข้องกับนโยบายและผลกระทบทั้งด้านบวกและลบของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนฯ และการสื่อสารดังที่กล่าวมาส่งผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชุมชนในระดับมากโดยที่ gif.latex?\bar{x} = 3.95 และแนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสารของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความร่วมมือ คือ การพัฒนาเนื้อหาสารและทักษะผู้ส่งสารด้านการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับพื้นที่ และการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การมีส่วนร่วมและการยอมรับมีอิทธิพลทางตรงต่อความร่วมมือโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ความร่วมมือในกิจการของโรงไฟฟ้าชุมชน = -.067+.554 (การมีส่วนร่วม) + .304 (การยอมรับ)

Article Details

How to Cite
เกตุรัตนกุล ว., เอี่ยมนิรันดร์ ธ., & ทองแดง ห. (2023). รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในเขตภาคเหนือ ของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 237–250. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/261575
บท
บทความวิจัย

References

กฤชศุลี ทองเนียม. (2559). การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2562). เวทีเสวนา “ชวพน. ชวนคุย ตอน โรงไฟฟ้าชุมชน ประชาชนได้อะไร”. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://www. egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3147:mis-20190920-01&catid=30&Itemid=112

นูรีดา ตาเยะ และ คณะ. (2562). ความรู้ ความเข้าใจ ปัญหาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า และแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษา โรงไฟฟ้าถ่านหินตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 "มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม" (หน้า 117-132). สงขลา: มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

พนิตา เจริญสุข และคณะ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการร้องเรียนด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการดำเนินการโรงไฟฟ้าชีวมวล (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล). ใน รายงานการวิจัย. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

พีรภพ จอมทอง. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของโรงไฟฟ้าชีวมวล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนพงษ์ คุโรวาท. (2564). สถานการณ์พลังงานปี 2563 และแนวโน้มการใช้พลังงานในปี 2564. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://re-fti.org/สนพ-คาดความต้องการใช้ไฟ/

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรี: พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2557). กรอบความเห็นร่วมการปฏิรูปประเทศไทยด้านพลังงาน. กรุงเทพมหานคร: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ.

อดิศักดิ์ ชูสุข. (9 กันยายน 2565). รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. (วิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล, ผู้สัมภาษณ์)

อัครเดช เนตรสุวรรณ. (2561). ยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือของชุมชนเกิดใหม่เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 207-222.

อุสาร์ ดวงจันทร์. (20 กันยายน 2565). รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. (วิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล, ผู้สัมภาษณ์)

Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rded.). New York: John Wiley & Sons.

Delbecq, A. L., et al. (1975). Group techniques for program Planning: A guide to nominal group and Delphi processes. Glenview, IL: Scott: Foresman and Company.

Everett, M. R. (2003). Diffusion of Innovation. (5thed.). Avenue of the Americas New York, New York: A Division of Simon & Schuster, Inc. 1230.

Vangen, S. & Huxham, C. (2013). Building and Using the theory of Collaborative Advantage. In Keast, R., Mandell, M. P. & Agranoff, R. eds. Network Theory in the Public Sector: Building New Theoretical Frameworks (pp. 51-69). New York: Routledge.

White, S. A. (1993). Participatory Communication for Social Change. New Delhi: Sage Publications.