โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พงษ์พิพัฒน์ นารินรักษ์
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
เพลินพิศ ธรรมรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและปัจจัยเชิงสาเหตุที่เลือกมาศึกษา 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) สร้างโมเดลสมมติฐาน 2) การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 420 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 1,260 คน และ 3) การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติ ไค-สเควร์ (Chi-Square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL โดยใช้สถิติขั้นสูง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1)ประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคว์-สแควร์ (χ2) = 62.99, ค่า (df) = 47, ค่า (p) = 0.05946, ค่า (χ2/df) = 1.34 ,ค่า (GFI) = 0.99, ค่า (AGFI) = 0.97, และค่า (R2) = 0.94 เมื่อนำโมเดลไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนยืนยันโดยใช้แบบสัมภาษณ์ พบว่า ทุกคนยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์ 3) อิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปัจจัยที่ส่งผลทางตรง คือ ปัจจัยภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์การ การจัดการเรียนรู้ของครู และองค์การแห่งการเรียนรู้

Article Details

How to Cite
นารินรักษ์ พ., เพียรธัญญกรณ์ ศ., & ธรรมรัตน์ เ. (2023). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 1–19. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/261873
บท
บทความวิจัย

References

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 27. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิราวรรณ เซ่งย่อง. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 9(2), 256-271.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคกลางของประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

นครินทร์ ศรีคง. (2561). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. Journal of Roi Et Rajabhat University, 12(ฉบับพิเศษ), 138-148.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). สถิติชวนใช้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ปุณยา จันทมาตย์. (2558). การศึกษาทักษะการสอนของครูสังคมศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education, 10(4), 612-624.

เฟื่องฟ้า เรืองเวช. (2558). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 12(23), 71-83.

วรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 12(3), 126-138.

วรัชญ์ธารี ประกิ่ง. (2561). องค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ.2565. คำสั่งที่ ศธ 04009/ว3246. (31 พฤษภาคม 2565).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561ก). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ปรับปรุง พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561ข). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561ค). เป้าหมายและตัวชี้วัดด้านผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล ปรับปรุง 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.

สำนักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา. (2558). แนวทางการดําเนินงานด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา.

สิริมา เปียอยู่. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 12(1), 260-274.

สุรัสวดี บุญติด. (2562). รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 11(1), 154-165.

อนุชา เงินแพทย์. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและบรรยากาศโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Hair, J. F. et al. (2014). Multivariate data analysis, New International edition. Harlow: Pearson Education.