การประดิษฐ์สร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวสนามช้างอารีน่า จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธงชัย สีโสภณ
ราชันย์ นิลวรรณาภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประดิษฐ์สร้างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมการท่องเที่ยว และการประดิษฐ์สร้างพื้นที่ทางความเชื่อและศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล การใช้แบบสัมภาษณ์ผู้รู้ สถาปัตยกรรมทางความเชื่อและศาสนา การใช้สังเกต และศึกษาเอกสาร บทความ วารสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า เกิดจากแนวคิดความต้องการพัฒนาสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความเจริญเติบโตที่มั่นคง ส่งผลให้นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เห็นโอกาสทางธุรกิจสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพประจำจังหวัดบุรีรัมย์ จึงเจรจาซื้อสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำเร็จ แล้วย้ายทีมมาอยู่เมืองบุรีรัมย์ ต่อมามีการประดิษฐ์สร้างสนามฟุตบอลที่ปรับจากสนามวอล์คเกอร์ สเตเดี้ยม กับ สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์ ด้วยรูปทรงปราสาทพนมรุ้งจำลอง สนามช้างอารีน่าเป็นพื้นที่ศูนย์กลางกิจกรรมทางเมืองบุรีรัมย์ กลายมาเป็นเมืองปราสาท 2 ยุค “ยุคแรกเมืองปราสาทขอม ยุคที่สองเมืองปราสาทสายฟ้า” ต่อมามีการสร้างพื้นที่ทางความเชื่อและศาสนาด้วย “สีน้ำเงินคราม” ความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างเมืองแปะ นายเนวินนำต้นแปะมาปลูกแสดงสัญลักษณ์พื้นที่ทางการเมืองบุรีรัมย์ พร้อมทั้งสร้างปราสาทพนมรุ้งจำลองเฉพาะองค์ปรางค์ประธานเพื่อสร้างความเชื่อทางพระพุทธศาสนา “องค์พ่อ จตุคามรามเทพ กับ พระพุทธพนมรุ้ง” ส่วนด้านนอกตัวปราสาทสร้างความเชื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ด้วยการสร้างนาคห้าเศียร พระพาย (วายุเทพ) และบุรุษยืนถือกระบอง ทั้งการสร้างสวนศิวะ 12 ประดิษฐ์ภาพพระศิวะเทพ กามสูตร 12 ท่า และพระพิฆเนศปางเบญจมุข

Article Details

How to Cite
สีโสภณ ธ., & นิลวรรณาภา ร. (2023). การประดิษฐ์สร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวสนามช้างอารีน่า จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 200–218. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262086
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2558). หนังสือรายวิชาท้องถิ่นศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: พี.เอส.เพรส จำกัด.

คมเพชร ทิพอาจ. (2559). ภาพลักษณ์ที่มีผลต่อความสำเร็จของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(2), 105-117.

ค้ำ วิชาพูล. (14 มีนาคม 2565). แนวคิดความเชื่อแบบท้องถิ่นกับศิลปกรรมลีลาท่าทางการเสพสุขทางเพศ. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

ชนินท์ ชาญเรืองศิลป์. (12 มีนาคม 2565). ความเชื่อพรพิฆเนศปางปัญจมุข. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

ชุติพงศ์ ปะทาเส. (2565). เผยวิธีเอาชนะใจสตรีและลักษณะอาการฝ่ายหญิงที่รับรักด้วยจากตำรากามสูตร. นิตยสารประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.silpa- mag.com/about-us

ณฐปกรณ์ จันทปิดตา. (13 มีนาคม 2565). ความเชื่อพระนารายณ์สร้างเมือง. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

ดุสิต อุทิศสุนทร. (1 มีนาคม 2565). ความเชื่อพระศิวะประทับนั่งสั่งให้พระนารายณ์ออกแบบสร้างเมือง. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

ธงชัย สีโสภณ. (2561). เอกสารประกอบการสอนวิชาท้องถิ่นศึกษา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธงรบ จันทร์เต็ม. (2548). ตำน้ำกินไม่สิ้นเสียง ตอนที่ 1. วารสารวิชาการรวยสาร, 3(1), 43-57.

บุรีรัมย์. (2559). อนุสรณ์งานศพที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ละออง ชิดชอบ. บุรีรัมย์: วินัยการพิมพ์.

เบญจวรรณ นาราสัจจ์. (2558). ประวัติศาสตร์ทางการของปราสาทพนมรุ้งที่คนท้องถิ่นไม่รับรู้. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 11(1), 109-110.

ประทวน วันนิจ. (5 มีนาคม 2565). ต้นไม้ชื่อบ้านนามเมืองบุรีรัมย์. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

ภริมา วินิธาสถิตกุล. (2558). คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย. วารสาร มจร. มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 31-44.

วรเทพ มากโภคา. (2554). นิวไอ-โมบาย สเตเดียม ลมหายใจแห่ง 'บุรีรัมย์'. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.thairath.co.th/content/179982

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). ประเพณีสร้างสรรค์ในสังคมไทยร่วมสมัย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553). หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : พื้นที่พิธีกรรมและการต่อรองเชิงอัตลักษณ์ในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.

สมมาตร ผลเกิด. (10 มีนาคม 2565). แนวคิดความเชื่อและศาสนาทางสังคมเมืองบุรีรัมย์ยุคใหม่ในการสร้างสถาปัตยกรรมและการออกแบบ. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

สรเชต วรคามวิชัย. (7 กุมภาพันธ์ 2565). การสร้างสถาปัตยกรรมความเชื่อและศาสนาในพื้นที่ทางสังคมยุคใหม่. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

แสงเพชร ลำไธสง. (7 กุมภาพันธ์ 2565). แนวคิดวัฒนธรรมประเพณีกับการสร้างพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองบุรีรัมย์. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)

อุดม ชัยสุวรรณ. (11 มีนาคม 2565). ความเชื่อการปลูกบัวในพระพุทธศาสนา. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์) เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2565

อุทิศ ทาหอม. (25 กุมภาพันธุ์ 2565). แนวคิดทางสังคมวิทยากับการสร้างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมและการท่องเที่ยวทางสังคมยุคใหม่. (ธงชัย สีโสภณ, ผู้สัมภาษณ์)