รูปแบบการนำเสนอสื่อสำหรับคนพิการทางการได้ยินผ่านโทรทัศน์ แบบสตรีมมิงขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย

Main Article Content

สิโรดม มณีแฮด
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอสื่อสำหรับคนพิการทางการได้ยินผ่านโทรทัศน์แบบสตรีมมิง กรณีศึกษา รายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และศึกษาประเภทเนื้อหาในการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยินผ่านโทรทัศน์แบบสตรีมมิง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและใช้วิธีวิเคราะห์ตัวบทของสื่อ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือเครื่องมือ ได้แก่ ชุดสื่อรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอสบนโทรทัศน์สตรีมมิง จำนวน 81 ตอน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์องค์ประกอบด้านรูปแบบการนำเสนอสื่อ และแบบสังเคราะห์องค์ประกอบด้านประเภทเนื้อหาที่สื่อสาร สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ประเภทเนื้อหาในการสื่อสารผ่านรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ประกอบด้วย 1) การแนะนำรายการอื่นที่น่าสนใจของสถานี 21 ตอน 2) การรวมเนื้อหาหลากหลายในตอนเดียว จำนวน 17 ตอน 3) การชี้แจงการดำเนินงานของสื่อ 13 ตอน 4) การอธิบายเนื้อหาเชิงวิชาการ จำนวน 12 ตอน 5) การรายงานข่าวและประเด็นสถานการณ์ จำนวน 10 ตอน 6) การรายงานผลและเปรียบเทียบผล จำนวน 6 ตอน และ 7) การสอนวิธีการและเคล็ดลับ 2 ตอน ส่วนรูปแบบการนำเสนอสื่อผ่านรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ประกอบด้วย 1) สื่อภาพเคลื่อนไหว จำนวน 81 ตอน 2) สื่อภาษามือไทย จำนวน 81 ตอน 3) สื่อภาพนิ่ง จำนวน 72 ตอน 4) สื่อคำบรรยายแทนเสียงแบบปิด จำนวน 21 ตอน 5) สื่อวิดีโออินโฟกราฟิก จำนวน 13 ตอน 6) สื่อคำบรรยายแทนเสียงแบบเปิด 6 ตอน และ 7) สื่อแอนิเมทอินโฟกราฟิก 4 ตอน โดยพบว่าไม่มีการใช้สื่อภาษามือไทยปัญญาประดิษฐ์

Article Details

How to Cite
มณีแฮด ส., & สายทอง พ. (2023). รูปแบบการนำเสนอสื่อสำหรับคนพิการทางการได้ยินผ่านโทรทัศน์ แบบสตรีมมิงขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 283–300. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262489
บท
บทความวิจัย

References

คณิศร จี้กระโทก และคณะ. (2562). ระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 101-113.

จารุวรรณ นิธิไพบูลย์ และคณะ. (2559). การพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 21-39.

จุฬาลักษณ์ สิงหะคเชนทร์ และมาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2564). การดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเพื่อการเข้าถึงเนื้อหาสำหรับผู้พิการทางการมองเห็นและการได้ยิน. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2), 59-68.

ตรี บุญเจือ. (2562). คนพิการกับการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากกิจการโทรทัศน์. วารสารวิชาการ กสทช., 3(3), 119-147.

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์. (2564). ข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการเชิงเปรียบเทียบกรณีศึกษา: สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 11(1), 128-149.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2559). การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง หน้า 6-14 (5 กุมภาพันธ์ 2559).

พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2561). การวิเคราะห์ตัวบทและการถอดรหัสความงามแบบอ่อนเยาว์ในสื่อโฆษณา. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 5(2), 67-86.

พรรษา รอดอาตม์. (2561). เนื้อหารายการในโทรทัศน์ดิจิตอลที่ถูกเลือกรับชมภายใต้บริบทที่สื่อมีการผลัดเปลี่ยนแพลตฟอร์ม (Platform). วารสารวิชาการวารสารศาสตร์, 11(2), 300-326.

ยศพล เหลืองโสมนภา และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิต ปัญหา และความต้องการของผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำ บลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสาร ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 28(2), 98-109.

รชพล ศรีขาวรส. (2565). คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อําเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 77-88.

รายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส. (2565ก). ความคิดเห็นต่อการนำเสนอเรื่องฝุ่น PM 2.5. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.thaipbs.or.th/program/OpenThaipbs/ episodes/ 90710.

รายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส. (2565ข). แรงบันดาลใจจาก Cook Culture. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.thaipbs.or.th/program/OpenThaipbs/ episodes/90604.

วรรณอาภา จารุประพาฬ และคณะ. (2564). เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 670-679.

วิโรจน์ สุทธิสีมา. (2564). ความเปลี่ยนแปลงของสื่อสตรีมมิงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย: มุมมองจากกลุ่มผู้สร้างและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2), 104-120.

สายทิพย์ ปิ่นเจริญ. (2558). ปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายกับพนักงานสอบสวน: กรณีศึกษาสถานีตำรวจในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะศารตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์สื่อสาธารณะ. (2565). รายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.thaipbs.or.th

สิโรดม มณีแฮด และคณะ. (2564). ความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคในหมู่ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19). วารสารวิชาการปัญญาปณิธาน, 6(2), 155-168.

สิโรดม มณีแฮด และคณะ. (2565). สื่อการเรียนรู้พลศึกษาภายใต้การระบาดของโควิด-19 ผ่านโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายสำหรับทักษะฟุตซอล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 227-241.

อารดา ครุจิต. (2560). โทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุษา ศิลป์เรืองวิไล. (2561). นวัตกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(3), 84-98.