สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการ ที่มีแรงงานต่างด้าว เขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย

Main Article Content

สมชัย ปราบรัตน์
สรัญญา โยะหมาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวเขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นายจ้างหรือผู้รับผิดชอบงานบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือหัวหน้างานผู้ควบคุมแรงงานของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว สังกัดเขตภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 371 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.82, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการรายด้านแต่ละด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากสูงที่สุดไปต่ำสุด ดังนี้ ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (gif.latex?\bar{x} = 3.99, S.D. = 0.65) การบริหารค่าตอบแทนที่มีต่อแรงงานต่างด้าว (gif.latex?\bar{x} = 3.93, S.D. = 0.63) การสรรหาและคัดเลือกแรงงานต่างด้าว (gif.latex?\bar{x} = 3.88, S.D. = 0.52) การพัฒนาแรงงานต่างด้าว (gif.latex?\bar{x} = 3.85, S.D. = 0.56) และการประเมินผลการปฏิบัติงานต่อแรงงานต่างด้าว (gif.latex?\bar{x} = 3.45, S.D. = 0.52) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว ในเขตพื้นที่ภาคใต้จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ดังนี้ ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่ภาคใต้ที่มีระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่ภาคใต้ที่มีช่วงอายุและประสบการณ์ทำงานต่างกันมีสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ปราบรัตน์ ส., & โยะหมาด ส. (2023). สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการ ที่มีแรงงานต่างด้าว เขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 219–232. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262579
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. (2561). สถานการณ์และเตือนภัยด้านแรงงานปี 2560 (มกราคม - ธันวาคม 2560). เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2561 จาก http://warning.mol.go.th/uploadFile /pdf/pdf-2018-11-14-1542194500.pdf.

คะนึงนิจ อนุโรจน์. (2554). Approach to Talent Management. Royal Thai Airforce Medical Gazette, 60(1), 52-54.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2551). สถานการณ์และผลกระทบของแรงงานต่างด้าวในระบบเศรษฐกิจไทย. ใน รายงานวิจัยธนาคารแห่งประเทศไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พระพงษ์ชัย ชยว์โส. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวเรศ กาทองทุ่ง. (2557). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายบริการในกำกับของรัฐ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศุภณัฐ ปัญญาแก้ว. (2557). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน). ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมสกุล เบาเนิด และวิโรจน์เจษฎาลักษณ์. (2560). การจัดการแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบการแปรรูปอาหารทะเลในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 10(1), 376-393.

สำนักข่าวอิสรา. (2560). เมื่อคนต่างด้าวสะเทือน เศรษฐกิจก็กระเพื่อมที่ปัตตานี. เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2560 จาก https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/58752-outside-58752.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลภาวะการมีงานทำของประชากรสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2563. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2563 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014 /DocLib13.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). เขตตรวจราชการ. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2560 จาก https://www.opm.go.th/opmportal/index.asp?parent=1232&pageid=1427&directory=14437&pagename=content1.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2560). สถานการณ์แรงงานต่างด้าว ฉบับประจำเดือนตุลาคม. เรียกใช้เมื่อ 14 ธันวาคม 2560 จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/ files/alien_th/7d983a9be2bd2908c835bbe1b761e905.pdf

สำเริง จันทสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชาติ จันทรานาคราช. (2560). ปัญหาแรงงานต่างด้าว ภาครัฐต้องเข้มงวดเรื่อง. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2560 จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-77430.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper&Collins.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.