การขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของชุมชน ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ถอดบทเรียนเกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม 2) ขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม และ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของชุมชนในประเทศไทยดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างกรณีหลากหลาย เลือกผู้นับถือศาสนา 3 ศาสนา คือ พุทธ อิสลาม และคริสต์ เพื่อให้ข้อสรุปที่ครอบคลุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกข้อมูลตามเหตุการณ์หรือตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของคนในชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมมี 3 มิติคือ มิติความมั่นคง โดยผู้นำชุมชนมีบทบาทในการสร้างความปรองดองและความสามัคคีของคนในชุมชน สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และน้ำ มิติความมั่งคั่ง โดยร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจชุมชน และสร้างทุนของชุมชน มิติความยั่งยืน โดยปฏิบัติตามหลักศาสนา ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และร่วมกันส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน 2) การขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม ได้แก่ การปลูกป่าและอนุรักษ์ป่าชุมชน กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารชุมชน กองทุนสะสมทรัพย์ กองทุนบ้านหลังสุดท้ายของผู้วายชน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ระบบซะกาต (อิสลาม) วิทยุชุมชน กีฬาต้านยาเสพติด การทำบุญ ทำนุบำรุงศาสนา การแก้ปัญหายาเสพติด กิจกรรมจูงมือลูกหลานเข้าวัดวันอาทิตย์ 3) แนวทางการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของชุมชน โดยอาศัยรูปแบบ อศร. (อบต.ศาสนา โรงเรียน) รูปแบบ บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) กระบวนการทางศาสนา รูปแบบการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน น้ำไหล ไฟสว่าง หนทางดี และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
Article Details
References
ชล บุนนาค และคณะ. (2561). โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ตายูดิน อุสมาน และคณะ. (2554). เทคนิคและกระบวนการจัดการความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
ทวี วัชระเกียรติศักดิ์. (2559). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการ พัฒนากลุ่มอาชีพในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(1), 43-54.
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 1. (28 มิถุนายน 2565). บทบาทในการสร้างความปรองดองและความสามัคคีของคนในชุมชน. (พระพิศิษฏ์วินัยการ (เสรี ฐิตปญฺโญ), ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 10. (28 มิถุนายน 2565). การส่งเสริมความยั่งยืนด้านศาสนา. (พระอธิการสุธรรม กลฺยาณธมฺโม, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 11. (30 มิถุนายน 2565). การส่งเสริมความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (บุญเรือง สมบัวคู, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 12. (30 มิถุนายน 2565). การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมความยั่งยืนด้านวัฒนธรรมและประเพณี. (นิเทศ เมืองผุย, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 2. (30 มิถุนายน 2565). การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน. (อาคม สมณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 3. (28 มิถุนายน 2565). ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงานและน้ำ. (พระปลัดสุเทพ จนทสโร, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 4. (28 มิถุนายน 2565). โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน ไฟฟ้า ประปา). (พระมงคลปริยัติธาดา (อุเทียน จิรวฑฺฒโน), ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 5. (28 มิถุนายน 2565). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (ภาวะการณ์มีงานทำ รายได้ครัวเรือน). (ปทิตตา ทาเกิด, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 6. (30 มิถุนายน 2565). ความยั่งยืน ด้านศาสนา. (โชติ ทองหล่อ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 7. (28 มิถุนายน 2565). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (บุญส่ง ปินตาคำ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 8. (28 มิถุนายน 2565). โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน ไฟฟ้า ประปา) . (พระมงคลปริยัติธาดา (อุเทียน จิรวฑฺฒโน), ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 9. (30 มิถุนายน 2565). การส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน. (คมกฤช บุษราคัม, ผู้สัมภาษณ์)
พระณัฏฐ์ธนชัย จันดาผล. (2563). การศึกษาการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวรของวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 184-193.
พระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว). (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง. ใน หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ ศิริรักษ์. (2553). แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง. เรียกใช้เมื่อ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://www.gotoknow.org/ posts/389666.
เมทินา อิสริยานนท์, สกฤติ อิสริยานนท์ และศักดา ศิลากร. (2564). แนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งสู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลาปาง, 10(2), 15-30.
รติพร ถึงฝั่ง และรัชพันธุ์ เชยจิตร. (2558). ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมกับความสุขของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาสังคม, 17(1),111-133.
รังสรรค์ สิงหเลิศ และศรัณยา อัตถากร. (2559). รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก.
วัชราภรณ์ จันทนุกูลและสัญญา เคณาภูมิ. (2559). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(4), 3-14.
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2526). การพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิชย์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562. กรงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุกัญญา รุ่งทองใบสุรีย์. (2556). สภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและรูปแบบที่ใช้ในการจัดการปัญหา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2),1.
สุทธิดา ศิริบุญหลง. (2554). การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม (metabolism) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์. เชียงใหม่: สำนักงานคณะกรรมการวิชัยแห่งชาติ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Burgess, R. & Stern, N. (1991). Social security in developing countries : what, why, who, and how? In: Ahmad, E, Dreze, J, Hills, J and Sen, A, (eds.). In Social Security in Developing Countries. WIDER studies in development economics. Oxford University Press, Oxford.
Geert Bouckaert. (1994). “Governance between Legitimacy and Efficiency: Citizen Participation in the Belgian Fire Services,” in Jan Kooiman (ed.). In Modern Governance: New Government-Society Interactions (=London, Thouns and Oaks, New Delhi. Sage Publication.