การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล

Main Article Content

ไพรินทร์ มากเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ธรรมาภิบาลความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล และวิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงของการคุ้มครองทางสังคมต่อแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการบริหารจัดการและการคุ้มครองแรงงาน การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ แรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน จำนวน 20 คน รวมทั้งการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในการตรวจแรงงานประมงทะเลรวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ การเข้าร่วมประชุมการสัมมนาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) ในช่วง พ.ศ.2558-2565 การกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเลของไทย มีลักษณะเป็น ‘ธรรมาภิบาลแบบสั่งการ’ (Directive Governance) คือ ภาครัฐเป็นผู้กำหนดทิศทางและวิสัยทัศน์ การบังคับใช้กฎหมายและบริหารจัดการแรงงานผ่านนายจ้างมาโดยตลอด และยังคงไว้ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจและสั่งการแบบบนลงล่าง แต่ยังไม่สามารถสร้างระบอบหรือแนวทางที่เป็นกระบวนการตามแนวคิดธรรมาภิบาลความร่วมมือที่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำให้เกิดขึ้นได้ 2) สภาพข้อเท็จจริงในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล แม้จะมีพลวัตรในเชิงหลักการ เช่น การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานประมงทะเลโดยตรง แต่ยังคงมีปัญหาด้านการปฏิบัติใช้ เช่น กรณีการเรียกร้องค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ที่มีอุปสรรคในด้านเอกสาร และปัญหาข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการดำเนินการของภาครัฐ

Article Details

How to Cite
มากเจริญ ไ. (2023). การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(6), 226–237. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/265253
บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจแรงงาน สำนักปลัดกระทรวงแรงงาน. (2565). รายงานสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจการแรงงาน ระหว่างประเทศ ไตรมาสที่ 4/2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดกระทรวงแรงงาน.

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558. (2558). เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิด กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 99 ง หน้า 1 (29 เมษายน 2558).

เจ้าของเรือประมง A. (10 มิถุนายน 2563). การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล. (ไพรินทร์ มากเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

เจ้าของเรือประมง B. (7 พฤษาภคม 2566). การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล. (ไพรินทร์ มากเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

เจ้าของเรือประมง C. (7 พฤษภาคม 2566). การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล. (พรินทร์ มากเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

ณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส. (18 พฤษภาคม 2566). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน. (ไพรินทร์ มากเจริญ, ผู้สัมภาษณ์)

สุดาศิริ วศวงศ์. (2539). การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในประเทศไทย:ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบกิจการประมงทะเลซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบที่จังหวัดระยอง. ใน รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช และคณะ. (2559). การศึกษาสภาพการจ้างงานและการทำงาน ในภาคการประมงทะเลของไทย. องค์การแรงงานระหว่างประเทศและศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สถาบันเอเชียศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์. (2561). โซ่ที่ซ่อนไว้ การปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2561 จาก https://www.hrw.org/sites/default/files/report_pdf/thailand0118th_report_web.pdf

Chris Ansell and Alison Gash. (2008). “Collaborative Governance in Theory”. Article in Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543–571.

Olivia Tran. (2017). Thailand’s Fisheries Reform: An Analysis of Institutional Responses and Degrees of Social Protection for Migrant Workers. School of International Development and Global Studies: Faculty of Social Sciences University of Ottawa.

Rachel Sabates-Wheeler and Myrtha Waite. (2003). Migration and Social Protection: A Concept Paper. Institute of Development Studies, Sussex. Retrieved October 4 , 2018 , from http://www.migrationdrc.org/publications /working_papers/WP-T2.pdf.

Supang Chantavanich, et al. (2016). Under the shadow: Forced labour among sea fishers in Thailand. Marine Policy , 68(8), 1-7.

Vinh Sum Chau and Montita Bunsiri. (2022). Elucidating the Paradox of Regulating Environmental Sustainability (Mis)management and Motivations: The Case of Thai Fisheries. in Environmental Management, 70(2022): 489–512.