รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการดำเนินงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้ามพรมแดนที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในนครกว่างโจว ประเทศจีน 5 ประเด็น คือ วัฒนธรรมองค์กร ส่วนประสมทางการตลาด การจัดการระบบโลจิสติกส์ การดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ และผลการดำเนินงาน พร้อมตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ซึ่งศึกษาใน 4 ประเด็น คือ วัฒนธรรมองค์กร ส่วนประสมทางการตลาด การจัดการระบบโลจิสติกส์ และการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ และศึกษาแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง วัฒนธรรมองค์กร ส่วนประสมทางการตลาด การจัดการระบบโลจิสติกส์ และการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กร ด้วยค่าอิทธิพลทางตรงในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 เท่ากัน และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์ และการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ ด้วยค่าอิทธิพลทางอ้อมในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.23 เท่ากัน 3. แนวทางในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติข้ามชาติสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ ผู้ประกอบการต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินงานต้องให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการจัดการระบบโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการนำส่วนประสมทางการตลาดไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานดังกล่าวควบคู่ไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้การสนับส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างจริงใจ
Article Details
References
ชญารัศมิ์ ทรัพยรัตน์ และวิชิต อู่อ้น. (2560). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการบริหารจัดการคนเก่งที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์การ. RMUTT Global Business and Economics Review, 12(1), 113-130.
ชฎารัฐ ขวัญนาค และศรายุทธ อินตะนัย. (2566). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี และการรับรู้คุณค่าของเว็บไซต์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภค. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 89-103.
ชวณัฏฐ์ ด่านวิริยะกุล. (2560). การนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในธุรกิจร้านขายยา กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูเกียรติ เนื้อไม้ และวิชิต อู่อ้น. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินการธุรกิจในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(1), 47-67.
ณัฐรดา ประสงค์ทรัพย์. (2559). คุณภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคภายในเขตกรุงเทพมหานครและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: รัตนไตร.
ธีรินทร์ เกตุวิชิต และคณะ. (2561). ปัจจัยของผู้ประกอบการ การสนับสนุนของภาครัฐ ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบ และการแข่งขันที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 151-159.
นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2560). โมเดลสมการโครงสร้าง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: เอ.พี. บลูปริ้นท์.
ภัทราพร เม้ามีศรี และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าบนระบบ E-commerce. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรพล อิทธิคเณศร. (2563). รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างบริบทองค์กรและสมรรถนะทางวิชาชีพของหัวหน้าพ่อครัวที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจร้านอาหาร. ใน ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สมยศ นาวีการ. (2554). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.
สำนักงานส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). รายงานสถานการณ์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2565 จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/ download-20211015125819.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน. (2561). ข้อมูลการค้าข้ามพรมแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2565 จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/584566/584566.pdf
สุธีรา เดชนครินทร และคณะ. (2565). บทบาทความไว้วางใจของผู้ซื้อที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าในตลาดกลางพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 28-43.
สุพัตรา กาญจโนภาส. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภกร ตันวราวุฒิชัย และบุญไทย แก้วขันตี. (2564). ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความสามารถด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(22), 23-40.
อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย. ใน สารนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Alvesson, M. . (1993). Culture Perspectives on Organization. New York: Cambridge University Press.
Bititci, U. et al. (1997). Integrated Performance Measurement Systems:A Development Guide. International Journal of Operations & Production Management, 17(5), 522-534.
Singer, Sara J. & Edmuondson, Amy C. . (2008). When Learning and Performance are at Odds: Confronting the Tension. In Learning and Performance Matter. Kumar Prem and Rampsey Phil, eds. Singapore: World Scientific.
Sink, D., & Tuttle, T. (1989). Planning and Measurement in Your Organization of the Future. Norcross, GA: IE Press.
Turban, E. et al. (2010). Electronics Commerce: a managerialPerspective. (6th edition). New Jersey: Pearson.
Watkins, J. H. (2007). Prediction Markets as an Aggregation Mechanism for Collective Intelligence. In Lake Arrowhead Conference. UCLAH.