การศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและความต้องการจำเป็น ในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

พล เหลืองรังษี
ชัดชม รัศมีมณฑล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นตามสมรรถนะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สอนรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดสงขลา ผู้บริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษานิเทศก์ ครู รวม 9 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาวิชาชีพครูที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวม 200 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยจาการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นแบบการตอบสนองคู่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้แก่ นักศึกษวิชาชีพครูมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีทักษะปฏิบัติในการออกแบบโครงร่างวิจัยและจัดทำทำรายงานการวิจัยทางวิชาการ และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณนักวิจัย และ 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตามสมรรถนะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้านความรู้ในการทำวิจัยมากที่สุด (ค่า PNImodified เท่ากับ .33) โดยต้องการพัฒนาการอภิปรายผลการวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการทำวิจัย (ค่า PNImodified เท่ากับ .32) โดยต้องการพัฒนาการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำวิจัยครั้งต่อไปมากที่สุด และด้านจรรยาบรรณการวิจัย (ค่า PNImodified เท่ากับ .29) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เหลืองรังษี พ., & รัศมีมณฑล ช. (2023). การศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและความต้องการจำเป็น ในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(7), 246–256. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/266265
บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 20 ก หน้า 12-19 ( 31 มีนาคม 2565).

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2563). ชวนทำวิจัย “ความต้องการจำเป็น” ด้วยสถิติ PNI ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2565 จาก https://www.salika.co/2020/08/16/priority-needs-index-part-2/

ฐิติมา ญาณะวงษา และคณะ. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 279-291.

ฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2563). ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2), 134-145.

พล เหลืองรังษี. (2564). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).

ภัทราพร เกษสังข์ และคณะ. (2562). สมรรถนะและการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศรวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(1), 132-145.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 2(1), 169-176.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). การออกแบบการเรียนรู้ย้อนกลับ. ใน สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุดสาย ศรีศักดา และคณะ. (2561). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของครูอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 2(3), 145-160.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ และ ชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 11(2), 105-111.

Lynn, M. R. (1986). Determination and Quantification of Content Validity. Nursing Research, 35(6), 382-385.

Marey, M., et al. (2018). Integrated assessment of course and program learning outcomes for accreditation process. In Global Engineering Education Conference (EDUCON 2018). Santa Cruz de Tenerife, Spain.